บางคนอาจจะตอบแบบรวบหัวรวบหางว่า " เรือบิน " 555555
แต่คำตอบที่ถูกก็คือ " เรือบิน " ครับ ที่เรียกมันว่าเรือ ก็เพราะที่จริงแล้วมันถูกจำแนกประเภทว่าเป็นเรือครับ
แต่ ที่ไม่เรียกว่าเครื่องบิน แม้มันจะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับเครื่องบิน ก็เพราะแม้มันจะบินได้ แต่มันก็บินสูงได้แค่ไม่กี่เมตรเท่านั้น
แต่ผมอยากจะเรียกมันว่าเครื่องบินเป็ดมากกว่า เพราะเป็ดก็มีปีก และหน้าตาเหมือนนก แต่บินไม่ค่อยได้
มัน เป็นยานพาหนะที่อยู่กึ่งกลางระหว่างยานโฮเวอร์คราฟท์กับเครื่องบิน ในภาษาไทยเรายังไม่มีใครบัญญัติศัพท์เรียกมันขึ้นมา เนื่องจากยานพาหนะแบบนี้ยังไม่แพร่หลาย แม้จะมีการพัฒนามาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ท่านนาวาโท ธำรงค์ เทียมเมฆ นายทหารไทยท่านหนึ่งแนะให้เรียกว่า " ยานเรี่ยพื้น " ผมก็คิดว่าเหมาะสมดีครับ
ขณะ ที่ในศัพท์ทางวิชาการ บางคนเรียกมันว่า Ground Effect Vehicle หรือ GEV เนื่องจากหลักการในการบินของมันใช้ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Ground Effect เป็นตัวช่วยยกมันขึ้นจากพื้น
รัส เซียเรียกมันว่า ekranoplan คำว่า plan นั้น ก็มาจากคำว่า plane ที่แปลว่าเครื่องบินนั่นเอง ส่วน Ekran ก็มาจากคำว่า Screen รวมแล้วน่าจะหมายถึงเครื่องบินที่บินบนที่เรียบๆราบๆ
ใน ประเทศอื่น ก็อาจจะเรียกแตกต่างกันไป เช่น Hybrid Craft , Wingship , AGEC (Aerodynamic Ground Effect Craft) , WISES (Wing In Surface Effect Ship) หรือ WIGE (Wing In Ground Effect) แต่ผมขอเรียกตามแบบรัสเซียก็แล้วกัน
หาก จะกล่าวโดยทั่วไป Ekranoplan ก็คือเครื่องบินเราดีๆนี่เอง แต่ต่างจากเครื่องบินตรงที่หลักในการบินของมัน มันมีเครื่องยนต์ที่ทำให้มันพุ่งไปข้างหน้า ซึ่งก็เหมือนเครื่องบินทั้งหลาย แต่การยกตัวของมันเป็นแบบฉบับของ Ekranoplan โดยเฉพาะ
Ekranoplan ลำโต สามารถบินขึ้นสูงจากผิวน้ำ 2 - 3 เมตร เพราะ ground effect ที่ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าเบาะอากาศที่ระหว่างใต้ปีกกับพื้น โดยขณะที่ยานเคลื่อนที่ไปข้างหน้า อากาศระหว่างตัวยานกับพื้นผิวของโลกจะถูกอัด ทำให้เกิดสภาพเสมือนหนึ่งมีเบาะอากาศรองรับอยู่ใต้ยาน ทำให้ยานนั้นสามารถ ลอยตัวอยู่ในอากาศได้
ekranoplan จะไม่สามารถบินสูงจากพื้นผิวของโลกมากนัก เพราะหากบินสูงกว่านี้ ปรากฏการณ์เบาะอากาศจะไม่เกิดขึ้น
ส่วน เครื่องบินลอยตัวอยู่ในอากาศ ได้ด้วยแรงยกของอากาศใต้ปีกเครื่องบิน อันเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศด้านเหนือปีกมีความเร็วมากว่าด้านใต้ปีก
ekranoplan จึงเหมาะสำหรับการเคลื่อนที่ไปตามพื้นราบที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ อย่างเช่นพื้นน้ำหรือพื้นแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นที่ราบสม่ำเสมอ
การ บินของมันประหยัดกว่าเครื่องบิน เพราะไม่ต้องใช้เครื่องยนต์แรงๆแบบเครื่องบิน ในทางทฤษฎีแล้ว มันสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ขณะเดียวกันมันก็สามารถเพิ่มความเร็วมากขึ้น เมื่อไม่ต้องมีปัญหาเกี่ยวกับแรงปะทะของคลื่นเหมือนกับเรือทั่วไป
การ บินของมันประหยัดกว่าเครื่องบิน เพราะไม่ต้องใช้เครื่องยนต์แรงๆแบบเครื่องบิน ในทางทฤษฎีแล้ว มันสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ขณะเดียวกันมันก็สามารถเพิ่มความเร็วมากขึ้น เมื่อไม่ต้องมีปัญหาเกี่ยวกับแรงปะทะของคลื่นเหมือนกับเรือทั่วไป
Ground Effect ถูกค้นพบมาตั้งแต่ที่เริ่มมีการพัฒนาเครื่องบินแล้ว โดยในตอนแรก มองว่าเรื่องนี้สร้างปัญหาให้กับเครื่องบินตอนที่นักบินพยายามนำเครื่องลง มันทำให้เครื่องบินสับสน ไม่รู้ว่าจะขึ้นหรือจะลงดี และในมุมมองของนักบิน และนักออกแบบเครื่องบิน เรื่องนี้เป็นโทษ แต่คนที่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์ก็คือคนที่ออกแบบเรือความเร็วสูง
การ พัฒนา ekranoplan เริ่มขึ้นในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย โดยช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการสร้าง ekranoplan สำหรับใช้ในการศึกษา แต่ในยุค 60 เทคโนโลยีนี้เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งก็เป็นผลมาจากการต่างคนต่างศึกษาวิจัยของชาย 2 คน
อเล็กเซเยฟ
โดยคนหนึ่งก็คือ อเล็กซานเดอร์ ลิปปิช วิศวรกรด้านอากาศพลศาสตร์ชาวเยอรมัน ส่วนอีกคนหนึ่งก็คือ รัสติสลาฟ อเล็กเซเยฟ นักออกแบบเรือชาวรัสเซีย ซึ่งแนวทางการพัฒนาของทั้งสองก็ยังพบเห็นได้ในยาน ekranoplan ยุคปัจจุบัน
อเล็ก เซเยฟสนใจ ekranoplan หลังจากที่เรือที่เขาออกแบบไม่สามารถฝ่ากำแพงความเร็วไปได้มากกว่า 100 - 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เขาเลยตัดสินใจเลิกต่อสู้กับกำแพงความเร็วของเรือ และหันไปสู่แนวทางใหม่ นั่นคือการยกเรือขึ้นจากน้ำ และเขาก็เริ่มต้นจากการทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นั่นก็คือการสร้าง ekranoplan ลำที่ต่อมาเรียกกันว่า ปีศาจแห่งทะเลแคสเปี้ยน หรือ กาเอ็ม ( KM ) ที่ย่อมาจากคำว่า กาสปีสกี้ มอนสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ เรียก Caspian Sea Monster ) ที่หนักถึง 550 ตัน
ปีศาจแห่งทะเลแคสเปี้ยน
มัน เป็น ekranoplan ที่ใหญ่ที่สุด และทรงพลังที่สุดเท่าที่โลกเคยสร้างขึ้นมา มันสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 544 ตัน ซึ่งเป็นสถิติสำหรับ Ekranoplan และเครื่องบินทุกลำในโลกนี้
ที่ น่าสนใจก็คือ อเล็กเซเยฟตายปีเดียวกันกับปีศาจแห่งทะเลแคสเปี้ยนของเขา โดยเขาตายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1980 ส่วนเจ้าปีศาจแห่งทะเลแคสเปี้ยน ก็ตายหลังจากนั้นไม่นาน ระหว่างการบินทดสอบครั้งหนึ่ง
ปีศาจ แห่งทะเลแคสเปี้ยนยาว 90 เมตร สูง 22 เมตร ความยาวปีก 37 เมตร ช่วงล่างของมันสร้างแบบเรือ แต่ด้านบนสร้างแบบเครื่องบิน ที่ส่วนหัว ติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบ 8 เครื่อง แต่ละเครื่องมีแรงฉุด 10 ตัน ส่วนใหญ่แล้วพวกมันใช้ในการออกตัว ส่วนที่หางยังมีเครื่องยนต์แบบนี้อีก 2 ตัว เพื่อใช้ในการยกตัวขึ้นในสถานการณ์วิกฤติ
การ ทดสอบเครื่องบินเริ่มในปี 1966 ที่เมืองคาสปี้สกี้ การบินครั้งแรกกินเวลา 15 นาที มันทำความสูงได้เกือบ 4 เมตร และความเร็วระหว่าง 400 - 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การทดสอบไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นนัก เพราะตัวเครื่องบินที่สร้างขึ้นมาในหลักการของเครื่องบินมีการสั่นอย่างมาก ก็เลยมีการแก้ปัญหากันแบบง่ายๆ ก็คือเสริมความแข็งแรงของลำตัว ด้วยแผ่นเหล็กหนา 20 มิลลิเมตร
อินทรีน้อย
ความสำเร็จในเรื่องนี้ทำให้ทางการโซเวียตสั่งให้ผลิต Ekranoplan ชั้น Orlyonok ( อินทรีน้อย ) ที่พัฒนาจากการพิจารณาข้อดีข้อด้อยของปีศาจแห่งทะเลแคสเปี้ยนสำหรับใช้ในทาง การทหาร ซึ่งการทดสอบ Ekranoplan รุ่นใหม่ มีขึ้นในปี 1972 และก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความเร็วที่สูง การยกตัวขึ้นจากน้ำด้วยความเร็วที่ต่ำ
Orlyonok ที่หนัก 125 ตันสามารถบรรทุกนาวิกโยธินได้ 200 นาย หรือรถถัง 2 คัน มันเดินทางได้แม้ว่าจะเจอกับคลื่นสูง 4 เมตร และเดินทางได้ไกลถึง 1 พัน 500 กิโลเมตร มันทำความเร็วได้ถึง 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันไม่กลัวทุ่นระเบิด และการที่บินต่ำมาก ทำให้เรด้าร์ไม่สามารถตรวจจับมันได้
แต่ เดิม มีการสั่งสร้าง Orlyonok มากถึง 120 ลำสำหรับกองทัพเรือโซเวียต โดยหวังให้มันไปประจำการณ์แถบทะเลแคสเปี้ยน และทะเลดำ แต่ไปๆมาๆมีการผลิตออกมาแค่ 5 ลำเท่านั้น โดย 1 ลำสำหรับใช้ในการทดสอบ และ 4 ลำสำหรับใช้ในการบินจริง ซึ่งในจำนวนนั้นปรากฏว่าเสียไป 2 ลำ และการสูญเสีย 1 ลำในจำนวนนั้นทำให้นักบินตาย หลังจากนั้นการใช้งานพวกมันจึงหยุดลง
ลูน
ลูกหลานของปีศาจแห่งทะเลแคสเปี้ยน อีกลำก็คือ Ekranoplan ชั้น Lun ( อ่านว่า ลูน ) ที่หนัก 400 ตัน มันเป็น Ekranoplan จู่โจม โซเวียตเริ่มพัฒนามันมาตั้งแต่ต้นยุค 70 มันยาวกว่า Orlyonok 8 เมตร และสูงกว่า 3 เมตร มันติดขีปนาวุธต่อต้านเรือรบที่ทรงพลังที่สุดในยุคนั้นคือขีปนาวุธความเร็ว เหนือเสียง TM 80 จำนวน 6 ลูก ในปี 1977 Lun มีการซ้อมยิงจรวด และก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ก็ปรากฏว่ามันไม่ได้ถูกนำเข้าประจำการณ์ และตอนนี้ มันก็ยังคงจอดตากแดดตากฝนมานานเป็นสิบปีแล้วเพื่อรอการตัดสินชะตากรรมว่าจะ เอาอย่างไรกันต่อไป
Lun ถือเป็น Ekranoplan ที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่อเล็กเซเยฟเคยสร้างมา มันสามารถบินท่ามกลางพายุระดับ 6 - 7 ได้ ขณะที่ปีศาจแห่งทะเลสาบแคสเปี้ยน ทำได้แค่ระดับ 3
จริงๆ แล้ว มันทำหน้าที่เป็นฐานยิงขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง ซึ่งก็เหมือนกับเรือรบลำหนึ่ง แต่มันเร็วกว่า 10 เท่า ขณะที่การสร้างและการใช้งานก็ถูกกว่า 2 เท่า แต่แน่นอนว่า มันไม่สามารถทำหน้าที่แทนเรือรบติดจรวด และก็ไม่มีใครอยากให้มันมาทำหน้าที่แทน หน้าที่หลักของมันก็คือการสนับสนุนเรือรบในพื้นที่จำกัด เช่นในทะเลดำ ทะเลบอลติก หรือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ปัจจุบัน ที่ฐานทัพที่คาสปีสกี้ มี Orlyonok เหลืออยู่ 2 ลำ และ Lun อีก 1 ลำ พวกมันทำการบินให้ตัวแทนกองทัพสหรัฐได้ชมในปี 1993 หลังจากนั้นก็ไม่ได้ทำการบินอีกเลย ซึ่งก็ประหลาดมาก เพราะสหรัฐอยากจะเห็นมันบินมาตลอด และเมื่อได้เห็นแล้ว สหภาพโซเวียตก็เก็บมันเข้ากรุ หลังจากนั้นสหภาพโซเวียตก็ล่มสลาย และรัสเซียก้าวเข้าสู่ระบบตลาดเสรี ตอนนี้ก็เลยไม่รู้ว่า อนาคตของมันในรัสเซียจะเป็นอย่างไร แต่เท่าที่มีรายงาน ปรากฏว่านาโต้ กำลังศึกษาอากาศยานแบบนี้อย่างหนัก
หลัง สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัสเซีย และโลกก็ยังคงมีการผลิต ekranoplan ขึ้นมาเช่นกัน แต่เป็นขนาดเล็กๆ สำหรับใช้ในด้านการพักผ่อนหย่อนใจ และการขนส่งพลเรือน (ขนาดประมาณ 10 ที่นั่ง ) โดยมีการผลิตมากที่เยอรมนี รัสเซีย และสหรัฐ ส่วนในประเทศอื่นก็มีการพัฒนาเช่นกันเช่นที่แคนาดา จีน และไต้หวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น