วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สงครามโลกครั้งที่2 การสู้รบในยุโรปตะวันออก (จากthaifighterclub intat45 )

การ แนว ตะวันออก ( สู้กับรัสเซีย)




การรบที่เป็นจุดพลิกผันของสงคราม



1 สตาลินกราด เยอรมันตัดสินใจโจมตีสตาลินกราดเพื่อเป็นฐานที่มั่นในการโจมตีเข้ายึดแหล่งน้ำมันที่บากู หลังจากที่เยอรมันล่อพวกรัสเซียมาป้องกันมอสโควแล้วก็ได้ส่งกองกำลังหลักของตนเข้าโจมตีรัสเซียตอนใต้ ซึ่งพวกรัสเซียมีทหารป้องกันเพียง10%เท่านั้นหลังจากที่สถานะการเริ่มย่ำแย่ สตาลินได้ส่งนายพลซึ่งเขาไว้วางใจที่สุด จีโอจี้ ซูคอฟมาพร้อมกับทหารจำนวนมาก ซูคอฟเข้ามาตั้งฐานบัญชาการในสตาลินกราด แทนที่จะอยู่อีกฟากของแม่น้ำ และเขากล่าวว่า ถ้าป้องกันสตาลินกราดไม่ได้ก็จะยอมตายที่นี่ การตัดสินใจปักหลักต่อสู้ของซูคอฟเพิ่มขวัญกำลังใจไห้ทหาร ฝ่ายเยอรมันนำโดยพอลลัส ไช้รูปแบบสงครามเบ็ดเสร็จบลิซคลีกโดยโจมตีด้วยปืนไหญ่และทิ้งระเบิดจากเครื่องบินอย่างหนักหน่วง ในตอนกลางวัน และส่งทัพรถถังเข้ายึดพื้นที่



ฝ่ายซูคอฟ ไช้รูปแบบสงครามจรยุทธปักหลักป้องกันตอนกลางวัน พอตอนกลางคืนไช้การเครื่อนตัวผ่านท่อระบายน้ำเข้าโจมตีจุดที่ป้องกันอ่อน เข้ายึดพื้นที่คืนบางส่วน ผลก็คือฝ่ายเยอรมันค่อยๆยึดพื้นที่อย่างช้าๆ และเป็นฝ่ายที่ล้มตายน้อยกว่า ส่วนพวกรัสเซียถึงจะส่งความเสียหายไห้เยอรมันได้บ้างแต่ก็ทำได้แค่ถ่วงเวลารอฤดูหนาว



2 สตาลินการ์ดปฏิบัติการยูเรนัส ในที่สุดหลังจากการรบ8เดือนฤดูหนาวก็มาถึง พวกเยอรมันยึดพื้นที่ได้ถึง9/10ส่วนได้รับข่าวการตีโต้ของพวกรัสเซีย มีการสร้างสะพานและยกพลเตรียมตัวบุก เข้ายึกสตาลินกราด พวกเยอรมันจึงส่งกองกำลังเข้าเสริมการป้องกันในสตาลินกราด แต่การโจมตีก็ไม่ได้เกิดขึ้น การโจมตีหลักที่แท้จริงเกิดขึ้นทางเหนือและใต้สตาลินกราด ห่างออกไป100ไมล์ นำโดยซูคอฟและวาซิลาฟสกี้เข้าทำการโอบล้อมแบบเหนือความคาดคิด กองทัพที่ปักหลักอยู่ในสตาลินกราดห่างเกินไปที่จะทำการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที กองทัพโรมาเนียที่ป้องกันทางปีกถูกทำลายอย่างรวดเร็วที่จริงทัพแพนเซอร์ที่6มีโอกาศหนีได้ทันแต่ต้องทิ้งหน่วยรบที่เครื่อนที่ได้ช้าทั้งหมด รวมทั้งทหารราบและรถถังจำนวนมากไห้กับรัสเซีย และที่สำคัญต้องเสียเขตแดนในสตาลินกราดที่ยึดมาได้อย่างยากลำบากคืนไห้กับพวกรัสเซียทั้งหมด ฮิตเลอร์จึงสั่งไห้ยืนหยัดต่อสู้ โดยสัญญาว่าจะส่งสิ่งจำเป็นด้วยทางอากาศและจะส่งทัพไปช่วยเหลือ ในที่สุดทัพเหนือใต้ได้บรรจบกันและการปิดล้อมก็สมบูรณ์และนี่คือการโอบล้อมระยะไกลที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทัพแพนเซอร์ที่6ถูกตัดออกจากการส่งกำลังบำรุงทำไห้ขาดแคลนทั้งอาหารเชื้อเพลิงและกระสุน ฮิตเลอร์ได้ส่งทัพแพนเซอร์ที่4 เข้าไปช่วยแต่ก็ติดกับดักของซูคอฟ โดยซูคอฟได้โจมตีทหารโรมาเนียและอิตาลีซึ่งเป็นจุดอ่อนทางด้านข้าง หลังจากทหารด้านข้างแตกทัพที่4ก็เสียขวัญต้องถอยทัพไปไกล กองทัพแพนเซอร์ที่6จึงหวังว่าจะรักษาการตั้งรับไว้จนฤดูหนาวผ่านพ้นแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะการส่งเสบียงและเครื่องกระสุนทางอากาศไม่เพียงพอ เนื่องจากภูมิอากาศในฤดูหนาว และประกอบกับการต้านทานจากทัพฟ้ารัสเซียที่เริ่มแข็งแกร่งขึ้น และแผนอันแยบยลของรัสเซีย ที่จะส่งสัญญาณควันหลอก ไห้เหมือนกับสัญญาณควันของพวกเยอรมันที่บอกตำแหน่งของพวกตน และส่งผลไห้เสบียงและสิ่งอุปกรณ์จำนวนมากถูกส่งไปยังเขตของพวกรัสเซีย ในที่สุดก็ไม่มีกระสุนและอาหารเพียงพอที่จะยืนหยัดต่อต้านต่อไปได้และต้องยอมแพ้



ผลของการรบ ทั้งสองฝ่ายล้มตายอย่างหนักทั้งคู่ แต่ที่ฝ่ายรัสเซียเสียเป็นทหารไหม่ที่ทดแทนได้ง่าย แต่ฝ่ายเยอรมันเสียทหารที่เชี่ยวชาญและไม่สามารถทดแทนได้ และฝ่ายรัสเซียซึ่งคุมสนามรบไว้ได้ ยึดเอาอุปกรณ์ทางการทหารเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ที่เสียหายจำนวนมากสามารถนำมาซ่อมและไช้ไหม่ได้ บางส่วนที่เสียหายหนักแต่เหลือพาร์ที่ปลอดภัยก็นำไปเป็นวัสดุในการสร้างอาวุธขึ้นมาไหม่และเป็นอะไหล่ โดยเฉพาะปืนไหญ่ โดยที่ฝ่ายแพ้ไม่สามารถขนปืนไหญ่หนีได้ทันต้องทิ้งปืนไหญ่จำนวนมากไห้ฝ่ายที่ชนะ

3 เคิร์ก จุดพลิกผันที่สำคัญอีกจุดหลังจากสตาลินการ์ดก็คือ เคิร์ก หลังจากที่เยอรมันพ่ายแพ้ที่สตาลินการ์ด ฮิตเลอร์ไม่ยอมล้มเลิกความพยายามที่จะชิงแหล่งน้ำมันของรัสเซียกลับคืน เพราะความอยู่รอดของกองกำลังนาซีขึ้นกับน้ำมัน และเยอรมันเหลือน้ำมันไว้ไช้ได้อีกไม่กี่ปี




การรบครั้งนี้เป็นการเผชิญหน้าของสองแม่ทัพผู้ซึ่งเก่งกาจที่สุดในโลกอย่างแท้จริงแต่กลับไม่ค่อยมีคนรู้จัก คนนึงคือ อิริค วอน แมนสเตน อีกคนคือ จีโอจี้ ซูคอฟ บางคนอาจจะเถียงว่า แม่ทัพที่เก่งที่สุดของเยอรมันคือรอมเมล และแม่ทัพที่เก่งที่สุดของพันธมิตรคือแพทตัน แต่ถ้านับตามผลงานแล้ว แมนสเตนผู้ซึ่งรับผิดชอบการยึดฝรั่งเศส โปร์แลนด์ ท่าเรือเซบาสโตโพลนั้นถือว่ามีความสำเร็จมากกว่ารอมเมลหลายเท่า ส่วนซูคอฟซึ่งรับผิดชอบการป้องกันสตาลินการ์ด ยุทธการยูเรนัส และการรบที่เคิร์กนั้น ถือว่าประสบความสำเร็จมากกว่าแพทตันมากนัก แต่เนื่องจากสงครามเย็น เราจึงรู้แต่ความสำเร็จของพันธมิตรในแนวรบตะวันตก และดีเดย์คือจุดพลิกผันของสงครามโลกครั้งที่สอง



การรบนี้เริ่มต้นด้วยความผิดพลาดของฮิตเลอร์ ซึ่งถ่วงการรบไว้หลายเดือน เพื่อรอรถถังแพนเซอร์รุ่นไหม่และไทเกอร์ แต่ในทุกๆเดือนที่เยอรมันรอ ฝ่ายรัสเซียผลิตt34ในอัตราที่มากกว่า และปรับปรุงแนวป้องกันที่เคิร์กไห้เป็นแนวป้องกันที่แข้งแกร่งที่สุดในโลก มีทั้งทุ่นระเบิด และปืนไหญ่จำนวนมาก และในจุดหนึ่งก็ไม่เกี่ยวแล้วว่ากองทัพเยอรมันจะแข็งแกร่งแค่ไหนและนำโดยแม่ทัพคนใด ไม่มีกองทัพใดและแม่ทัพคนใดในโลกในเวลานั้นที่จะตีเคิร์กแตกได้ ฝ่ายเยอรมันมีทัพแปดแสนกว่า ฝ่ายรัสเซียมีถึงล้านสาม แต่ฝ่ายเยอรมันมีอาวุธที่มีคุณภาพเหนือกว่ามาก



การรบเริ่มขึ้นภายใต้ชื่อปฏิบัติการซิทาเดล โดยแมนสเตน สั่งรวมกำลังหมายโจมตีสร้างความประหลาดใจและโอบล้อมเคิร์ก แต่ฝ่ายเยอรมันกลับได้รับความประหลาดใจซะเอง โดยฝ่ายรัสเซียเปิดฉากโจมตีก่อน โดยไช้ทัพฟ้าเข้าโจมตีฐานทัพอากาศของฝ่ายเยอรมัน และไช้ปืนไหญ่ยิงถล่มจุดรวมกำลังของฝ่ายเยอรมัน แมนสเตนสั่งโจมตีโดยไช้ทัพไหญ่สามทัพ ทางเหนือ กลางและใต้ เมื่อเจอกับทุ่นระเบิด พวกเยอรมันไช้รถบังคับวิทยุโกลไลแอทในการทำลายทุ่น ท่ามกลางการยิงถล่ม เมื่อต้องเจอกับการป้องกันซึ่งลึกและยืดหยุ่นของรัสเซีย ซึ่งมีทั้งทุ่นระเบิดเพื่อถ่วงเวลา การยิงปืน ไหญ่เพื่อทำลายทัพ และที่สำคัญยังมีการซ่อนรถถังและกำลังพลไว้ใต้ดิน ซึ่งทำไห้พวกเยอรมันไม่รู้ว่ากำลังป้องกันจุดไหนมีเท่าไร และหลายครั้งที่โจมตีเข้าไปในกับดักวงล้อมของรัสเซีย หลังจากโจมตีไปได้ซักพัก ความก้าวหน้าก็ยุติลง ทั้งสามทัพไม่สามารถเจาะผ่านแนวป้องกันไปได้ และฝ่ายรัสเซียรวมกำลังเพื่อโต้กลับภายใต้ชื่อปฏิบัติการโพคาโวลก้า ทางเหนือและใต้ โดยจู่โจมอย่างรวดเร็ว แต่ฝ่ายแมนสเตนซึ่งเหลือกำลังรถถังสำรองไว้ ได้โจมตีสกัดกองรถถังของรัสเซียอย่างได้ผล ทำไห้ซูคอฟต้องชะลอการโจมตี โดยไห้รถถังและทหารราบจำนวนมาก เครื่อนพลไปพร้อมกัน ส่งผลไห้แมนสเตนสามารถถอนทหารบางส่วนได้ทันการ



ผลการรบคราวนี้ ฝ่ายรัสเซียเสียหายมากกว่าซะอีก แต่ว่า ทางฝ่ายเยอรมันไม่สามารถชดเชยกำลังทหารที่เชี่ยวชาญและอาวุธซึ่งมีราคาแพงและผลิตได้ยากได้ทัน ส่วนฝ่ายรัสเซีย สามารถสร้างทหารได้อย่างรวดเร็ว และ ได้ประโยชน์จากการยึดอุปกรณ์สงครามจำนวนมากในสนามรบ และ เหมือนกับยุทธการยูเรนัส อุปกรณ์หลายอย่างสามารถซ่อมแซมและนำมาไช้ไหม่ได้ ซึ่งเป็นผลไห้การรบคราวนี้เป็นจุดพลิกผันอีกจุด ที่เป็นประโยชน์แก่รัสเซีย และหลังจากการรบครั้งนี้ การรบแทบทุกครั้ง ฝ่ายรัสเซียจะมีกำลังทหารและอาวุธมากกว่า และมีอำนาจการรบเหนือกว่าฝ่ายเยอรมัน
 
เสริมเคิร์กอีกนิด พวกพันธมิตรตะวันตก อ้างว่าพวกเยอรมันถอยจากเคิร์กเพราะการยึดเกาะซิซิลีของ ทัพผสมอเมริกาและอังกฤษนั้นไม่เป็นความจริง เพราะหลังจากยึดเกาะได้แล้ว พวกเยอรมันยังบุกต่อไปอีกระยะจนไม่เหลือกำลังพอจึงยุติการบุก




4 d-day หลังจากการพ่ายแพ้ที่เคิร์ก พวกเยอรมันหมดหวังในการยึดแหล่งน้ำมันของรัสเซีย และได้ทำการยืนหยัดป้องกันอย่างสิ้นหวังรอวันที่น้ำมันหมด แต่ภายในเดือนมิถุนายน ก็มีข่าวร้ายเกิดขึ้น พวกพันธมิตรกำลังยกพลขึ้นบก และมีการโจมตีขึ้นสองจุด คือนอมังดี และพาเดอคาเล่ โดยฝ่ายเยอรมันเชื่อว่าการโจมตีหลักจะเกิดขึ้นที่พาเดอคาเล่ เพราะกองทัพลวงและแม่ทัพแพทตันอยู่ที่นั่น ส่วนทางนอมังดีนั้นไม่มีท่าเรือที่สามารถไช้ยกอาวุธหนักขึ้นบกได้ แต่ความจริง การโจมตีหลักเกิดขึ้นที่นอมังดี โดยไช้แผ่นอลูมิเนียมเล็กๆ หลอกจอเรย์ดาร์ ว่ามีการโจมตีทางอากาศขึ้นที่พาเดอร์คาร์เลย์ และมีการใช้วิทยุสื่อสารลวง เพื่อไห้สมจริง ส่วนทางนอร์มังดี ถึงขนาดมีการขนส่งท่าเรือลอยน้ำมาจากอังกฤษ กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไปแล้ว ทหารพันธมิตรตะวันตก ถึงสองล้านคนจะบุกเยอรมันผ่านทางนอมังดี

ฝ่ายเยอรมันมีทหารป้องกันแนวรบตะวันตกแค่สี่แสนคนเท่านั้น ทหารราว85-90%ไช้ป้องกันทางแนวรบตะวันออก ส่วนที่บอกว่าพวกเยอรมันกลัวแพทตันที่สุด และไช้กองกำลังส่วนไหญ่ป้องกันการโจมตีของกองทัพลวงของแพทตันนั้น ไม่เป็นความจริง แมทัพที่พวกเยอรมันกลัวที่สุดคือซูคอฟ และพวกเยอรมันมักไช้กำลังป้องกันส่วนไหญ่ของตนในการสกัดซูคอฟ แต่ด้วยความเก่งกาจของทหารและแม่ทัพเยอรมัน แนวรบตะวันตกได้มีความก้าวหน้าไปอย่างเชื่องช้า



5 ยุทธการบาเกรชั่น ภายในเดือนมิถุนายน เดือนเดียวกับที่เยอรมันโดนโจมตีที่นอมังดี ได้มีข่าวร้ายอีกข่าว ที่อาจจะสาหัสมากกว่านอมังดีซะอีก นั่นคือ 2 สัปดาห์หลังd-dayรัสเซียได้ตัดสินใจโจมตีศูนย์บัญชาการของเยอรมันทางตะวันออก ภายใต้ชื่อปฎิบัติการบาเกรชั่น โดยซูคอฟรับผิดชอบการรบวงกว้างทุกแนวได้ทำการโจมตีหลักหลายแนว แล้วโยกการโจมตีหลักออกจากทางทิศไต้ไปยังตรงกลาง ทำไห้ฝ่ายเยอรมันไม่รู้ว่าการโจมตีหลักจะเกิดขึ้นที่จุดไหน และโดนหลอกไห้ไช้กองกำลังรถถังส่วนไหญ่ป้องกันทางทิศไต้ ทำไห้การโจมตีหลักที่จะทะลวงตรงกลางนั้น ฝ่ายรัสเซียมีความได้เปรียบในด้านรถถังถึง เจ็ดเท่า และมีอัตราส่วนเครื่องบินมากกว่าถึงสิบเท่า ทัพหลักคราวนี้นำโดยแม่ทัพ โรคอสสกี้ โดยก่อนการรบโรโคสกี้ได้เสนอแผนซึ่งสร้างความประหลาดใจไห้กับสตาลิน ซึ่งตามแผนจะต้องทะลวงแนวป้องกันของเยอรมันถึงสองจุด ซึ่งเสี่ยงมาก เพราะตามปกติมักนิยมไช้การล้อมเป็นวงกว้าง หรือถ้าฝ่ายตรงข้ามยืดแนวป้องกัน เพื่อป้องกันการล้อมก็จะไช้การเจาะจุดเดียวแล้วเข้าล้อมฝ่ายตรงข้ามจากข้างหลัง แต่แผนเจาะสองจุด เท่ากันต้องกระจายกำลังหลักออกไป ซึ่งถ้าไม่สำเร็จ แทนที่จะชนะกลับกลายเป็นแพ้แทน สตาลินจึงขอไห้โรคอสสกี้กลับไปคิดอีกรอบ และโรคอฟสกี้ก็ได้กลับไปคิด และกลีบมาพร้อมกลับเสนอแผนเดิม สตาลินก็ขอไห้ กลับไปคิดอีก โรคอฟสกี้ก็ได้กลับมาพร้อมกับยืนยันตามแผนเดิม และในครั้งที่สามนี้ สตาลินได้เอามือไปแตะยังไหล่ของแม่ทัพ และบอกว่า สหายได้ยืนยันหนักแน่นมาก และข้าก็เชื่อมั่นในตัวของสหาย และไห้โรคอฟสกี้ปฎิบัติการตามแผน ผลก็คือ จากการเจาะสองจุด ทำไห้การปิดล้อมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากและฝ่ายเยอรมันไม่สามารถถอยทัพได้ทัน ส่งผลไห้ต้องเสียทหารไปถึง670,000นายทั้งตายและเจ็บ และเป็นการปราชัยที่ย่อยยับที่สุดนับจากสตาลินกราด และศึกนี้ ฝ่ายเยอรมันเสียหายหนักยิ่งกว่าเคิร์กซะอีก ฝ่ายรัสเซีย ตาย 60,000 เจ็บ 110,000 คนเจ็บฝ่ายรัสเซียมีโอกาศรักษาได้ดีกว่าเพราะเป็นฝ่ายครองสนามรบ และได้ยึดอาวุธ ที่ฝ่ายเยอรมันทิ้งไว้รวมทั้งสามารถซ่อมอาวุธที่เสียหายเพื่อนำมาไช้ไหม่ได้



ภายหลังปฎิบัตรการบาเกรชั่น ก็ไม่เคยมีศึกไหญ่ขนาดนี้เกิดขึ้นอีก การยุทธแห่งบัลค์ ก็ตายแค่ฝ่ายละแสน และการปิดล้อมหลังจากนี้อย่างมากก็ล้อมทหารเยอรมันได้ สองแสนหรือสามแสนนายเท่านั้น ดีสุดก็ยุทธการยึดโรมาเนีย ซึ่งจัดการกับพวกเยอรมันได้ถึง 400,000 นาย ส่วนฝ่ายรัสเซียตายเจ็บน้อยกว่าถึงเจ็ดเท่า



ผมจึงขอฟันธงว่า สาเหตุที่เยอรมันแพ้แม้จะมีหลายสาเหตุ แต่หลักๆก็คือการตัดสินใจ บุกรัสเซีย ซึ่งทำไห้สูญเสียทหาร และยุทโธปกรณ์ ไปประมาณ75-80%
 
ได้กล่าวถึงยุทธวิธีการรบไปแล้วคราวนี้มาพูดถึงยุทธศาสตร์โดยรวมบ้าง ว่าเหตุใดรัสเซียจึงชนะ


1 ฤดูหนาวสุดหฤโหด ไม่เหมือนกับทัพของนโปเลียน ทัพเยอรมันเตรียมตัวมาดีกว่า แต่ก็ยังดีไม่พอ กองทัพรัสเซียที่เชี่ยวชาญการรบฤดูหนาวมากกว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ สังเกตุ การตีโต้เลนินกราด การตีโต้ที่มอสโคว การตีโต้ที่สตาลินกราดปฎิบัติการยูเรนัส ล้วนไช้ฤดูหนาวช่วยทั้งสิ้น แต่ความหนาวไม่ได้ฆ่าพวกเยอรมันโดยตรง แต่ทำไห้อ่อนกำลังลงมาก



2 การส่งกำลังบำรุง ฝ่ายเยอรมันมีระยะทางยาวไกลมาก และประกอบกับการสงครามจรยุทธของพวกรัสเซีย ทำไห้ต้องแบ่งกำลังทัพจำนวนมากมาป้องกันการส่งยุทธปัจจัย



3 การผลิต ฝ่ายรัสเซียได้ไช้ความเป็นชาตินิยม เร่งกำลังผลิตอย่างเอาเป็นเอาตาย ส่งผลไห้กำลังผลิตของรัสเซียสูงกว่าพวกเยอรมันซะอีก และยังได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาและอังกฤษ (แต่เป็นส่วนรอง รัสเซียพึ่งการผลิตของตนเป็นหลัก และการบันทึกอาวุธและผลการรบของทั้งสองฝ่าย ได้กล่าวถึงรถถัง t34 และเครื่องบินรบ il2 ของรัสเซียอย่างมาก แต่ไม่ได้กล่าวถึงอาวุธของอเมริกาเท่าไร เพราะถูกไช้เป็นจำนวนที่น้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามการสนับสนุนของชาติพันธมิตรถือว่าสำคัญมาก เพราะ รถบรรทุกและรองเท้าที่ส่งมาจากอเมริกา ได้ช่วยแบ่งเบาภาระของโรงงานรัสเซียไห้มุ่งผลิตอาวุธเป็นหลัก) รวมทั้งอาวุธของรัสเซียออกแบบอย่างชาญฉลาด ไห้ผลิตได้ง่ายในระดับ แมส ฝึกพลขับได้ง่ายกว่า ราคาถูกดูแลง่าย มีอานุภาพที่ดี ส่วนฝ่ายเยอรมัน ผลิตโดยต้องมีคุณภาพยอดเยี่ยมตามแบบเยอรมันเท่านั้น จึง แพง ผลิตได้ในจำนวนที่น้อยกว่า ดูแลยาก ค่าเมนเทนแนนแพง ฝึกผู้ไช้ก็ยาก แต่คุณภาพนั้นดีเยี่ยม



4 ทหาร ทหารฝ่ายเยอรมันนั้น ฝึกมาดีกว่ามาก ไช้อาวุธที่ดีกว่า ส่วนทหารฝ่ายรัสเซียนั้น มีจำนวนมากก็จริง แต่มีการฝึกน้อย และอาวุธสู้ไม่ได้อาสัยแต่ความกล้าเข้าสู้เท่านั้น ในศึกสตาลินกราดและเลนินกราด ถึงแม้จะโดนล้อมทำลาย โดนทิ้งระเบิด โดนตัดสเบียงไห้อดตาย พวกรัสเซียก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ และได้ไช้สงครามจรยุทธในการป้องกัน ส่งความเสียหายไห้เยอรมันได้พอสมควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น