วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Palov คนแบบนี้ก็มีในโลก!! credit: bum

1941 เยอรมัน บุกรัสเซียแบบสายฟ้าแลบ กองทัพหลักของเยอรมันต้องการยึด 3 เมืองหลัก คือ leningrad,moscow และ stalingrad ให้ได้ โดยเฉพาะ stalingrad เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ที่จะตัดโซเวียตออกจากแหล่งน้ำมันของ ทะเลดำ และสามารถ อ้อมไปตี moscow ได้ ไม่ว่าจะแลกด้วยอะไรก็ตามต้อง ป้องกันเมือง stalingrad ให้ได้!!
หนึ่งใน ฮีโร่ของ stalingard ไม่ได้มีแค่ Vasili Zaitsev,sniper ที่เก็บเยอรมันไป 400 ศพ ยังมี จ่า Yacov Pavlov (ถ้าใครเคยเล่น CoD ภาคแรก ฉาก Pavlov's house นั้นแหละมีอยู่จริงๆ!) ไอ้บ้า Pavlov คนนี้ ยึดอาพาร์ทเมนต์ 4 ชั้นพร้อมคน ประมาณ 1 โหล สู้กับ เยอรมัน นานกว่า 58 วัน สังหาร ทหารเยอรมันไปกว่าพันคน ท่ามกลางห่าปืนใหญ่ รถถัง และการบุกทั้งวันทั้งคืน!!
แปลโดยตูเอง หาอ่านได้ที่นี้ที่เดียว!!


คำสั่งของ stalin มาถึง ห้ามถอยแม้แต่ก้าวเดียว!! ไม่ว่าต้องเสียอะไร เท่าไร ก็ต้องป้องกันเมืองนี้ไว้ให้ได้!!


ประชาชนถูกสั่งห้ามอพยพ ต้องเป็นแนวหลัง ช่วยสอดแนมและส่งกำลัง บำรุงทหารในเมือง


Sergeant Yacov Pavlov ถูกส่งเข้าสนามรบ เพื่อแทนตำแหน่ง จ่า คนหนึ่งที่บาดเจ็บสาหัส รูป: เครื่องบินเยอรมันที่ระดมทิ้งระเบิดใส่ ท่าเรือ ของเมือง stalingrad จากจุดนี้ ห้ามมีการถอยอีกต่อไป!!


Pavlov ต้องปกป้อง อาพาร์ทเมนต์ 4 ชั้น ที่จวนจะพังแห่งหนึ่ง พร้อมด้วยคนในบังคับบัญชา 4 คน!!! อาพาร์ทเมนต์แห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ จตุรัส 9th January


Pavlov สังกัด หน่วย 13th Guards Division ซึ่ง ได้รับคำสั่งโดยตรงมาว่า ให้ยึดเมืองและพิชิตเยอรมันให้ได้!!(ถ้าตูถูกสั่งแบบนี้ ตูจะบอกว่า ประหารตูตรงนี้มันะไม่ง่ายกว่าเหรอฟ่ะ) รูป: พวกเยอรมันเดินหน้าบุก ท่ามกลางเมืองที่เละเป็นเศษอิฐ


ในช่วงแรกๆ พวก Pavlov สู้โดยใช้ sniper เป็นหลัก การต่อสู้นั้นดุเดือด ศัตรูอยู่ห่างกันไม่กี่เมตร หลายครั้งที่เยอรมันเข้ามาอยู่ตึกเดียวกัน แต่คนละชั้น!!


ขณะที่พวกของ Pavlov ตายไปทีละคน เหมือนสวรรค์ช่วย ทางกองทัพแดงส่งคนมาเพิ่มอีกตั้ง 12 คน!! พร้อมด้วย ปืนต่อสู้รถถัง ปืนกล ปืนครก ลวดหนามและกับระเบิด


ท่ามกลางการบุกของเยอรมันอย่างบ้าคลั่ง ทั้งวันทั้งคืน พวก Pavlov วางลวดหนาม โรยกับระเบิด ขุด หลุมเพลาะ ไปเชื่อมกับ ถึงชายหาดแม่น้ำ โวลก้า ซึ่งไกลออกไปประมาณ 50 หลา พวก Pavlov อยู่ได้เพราะเสบียงที่ถูกขนมาตามรู สนามเพลาะนี้ รูป: แผ่นที่ อาพาร์ทเมนต์ของ Pavlov


การนั้น อาหารและกระสุนก็ยังขาดแคลนอยู่ดี พวก Pavlov ต้องอาศัย ฉนวนหุ้มท่อน้ำต่างหมอน เวลานอน พวกเยอรมัน บุกเข้า ชาร์ท ต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน ใช้ทั้ง รถถัง และ ปืนใหญ่ ยิงปืนกลใส่ อาพาร์ทเมนต์ ตั้งแต่ชั้น 1 ยันหลังคาบ้าน!!


แต่หลังจากการต่อสู้ที่นองเลือด พวกเยอรมันก็เผ่น กลับไปหมดทุกครั้ง โดยทิ้งศพเพื่อนนอนเรี่ยราด !! พวกเยอรมันถึงกับ วางสัญลักษณ์ "ป้อมปราการ" ตรง อาพาร์ทเมนต์ Pavlov ไว้ในแผนที่



ตอนแรก stalin กลัว ญี่ปุ่นจะบุก โซเวียต จากทางตะวันออก จนวันหนึ่งสายลับ จากญี่ปุ่นส่งข่าวว่า "ตะวันออกปลอดภัย" stalin จึงส่งทหารนับล้านจากทั่วทั้งโซเวียตเข้ารบกับเยอรมันได้เต็มที่ รูป: พวกกองหนุนโซเวียตที่เรือแตก แต่ก็ยังว่ายข้ามแม่น้ำ โวลก้า เข้าเมือง stalingrad


เมื่อ กองหนุน มาถึงขับไล่พวกเยอรมันออกจากพื้นที่ได้ Pavlov ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ของการต่อต้าน เยอรมันที่เมือง Stalingrad รวมเวลทั้งหมดที่ Pavlov ต่อสู้อยู่ อาพาร์ทเมนต์แห่งนี้ทั้งสิ้น 58 วัน!!



นายพล Chuikov ของโซเวียต เมื่อเห็นจำนวนทหารเยอรมันที่ตายอยู่รอบๆ อพาร์ทเมนต์ของ Pavlov ถึงกับบอกว่า "พวกเยอรมัน ที่ตายตรงนี้เยอะกว่า ตอนที่พวกมันบุก ปารีส ซะอีก" รูป:นายพล Chuikov



2/2/1943 หลังเยอรมันถูกโซเวียตปิดล้อมด้วย กำลังที่เหนือกว่า และอาวุธเสริม จาก อเมริกัน นายพล Von Paulus นำทหารเยอรมันกว่า 400,000 คนยอมแพ้ แต่.. ทั้งหมดได้มีชีวิตกลับบ้านแค่ 63,000 คน

http://www.russiablog.org/VictoryDayReichstag.jpg
Pavlov ยังติดตามกองทัพแดงจะบุกอย่างต่อเนื่องจนถึง กรุงเบอร์ลิน และเยอรมันประกาศยอมแพ้...


Sergeant Yacov Pavlov ได้รับการแต่งตั้ง เป็น ฮีโร่ ของสหภาพโซเวียต หลังสงครามจบ แต่เขาเลือกที่จะบวชเป็นพระ และใช้ชีวิตอยู่อย่างเงียบๆ จนตายไปในปี 1981 ปิดฉาก วีรบุรุษ สงครามคนหนึ่งอย่างสงบ.


อาพาร์ทเมนต์ ที่ Pavlov ยืดหยัดต่อสู้ ต่อมาถูกเรียกว่า Pavlov's house ปัจจุบัน เหลือกำแพงและคำจารึกดังภาพ



ส่วนใหญ่ วีรบุรุษ สงคราม มักจะแสวงหาความสงบในบั้นปลายชีวิตทั้งนั้นนะครับ ถ้าวันหนึ่ง คุณฆ่าคนเกิน 500 คน มุมมองชีวิตคุณอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้? รูป: การรบที่นองเลือดของ stalingrad กว่าจะยึดได้ ทีจะตึก ทีละชั้น ทีละเมตร...


ลืมอีกรูป : Pavlov's house อยู่ในตำแหน่งในรูปครับ ท่ามกลางเมืองที่เป็นเศษอิฐ ไม่อยากจะเชื่อจริงๆว่ะ มันเล่นของแหง๋มๆ


อีกรูป: สภาพเมือง stalingrad หลังสงครามจบใหม่ๆ


รูป: อนุสาวรีย์รำลึกถึงสงครามที่ stalingrad ครั้งนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น