วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Mig-29

มิโคยัน มิก-29

มิโคยัน มิก-29
บทบาท เครื่องบินขับไล่หลากบทบาท เครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ
สัญชาติ Flag of the Soviet Union สหภาพโซเวียต
Flag of รัสเซีย รัสเซีย
บริษัทผู้ผลิต มิโคยัน
บินครั้งแรก 6 ตุลาคม พ.ศ. 2520
เริ่มใช้ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2526
สถานะ อยู่ในประจำการ
ผู้ใช้งานหลัก กองทัพอากาศรัสเซีย
กองทัพอากาศฮังการี
กองทัพอากาศยูเครน
กองทัพอากาศอินเดีย
กองทัพอากาศแอลจีเรีย
ช่วงการผลิต พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต มากกว่า 1,257 ลำ
มูลค่า ลำละ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
แบบอื่น มิโคยัน มิก-29เอ็ม
มิโคยัน มิก-35

มิโคยัน มิก-29 (อังกฤษ: Mikoyan MiG-29, รัสเซีย: Микоян МиГ-29) เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่สี่ซึ่งถูกออกแบบโดยสหภาพโซเวียตสำหรับบทบาทครองความเป็นจ้าวอากาศ มันถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2513 โดยมิโคยัน มันได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศโซเวียตเมื่อปีพ.ศ. 2526 และยังคงถูกใช้โดยกองทัพอากาศรัสเซียเช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศ นาโต้เรียกมิก-29 ว่าฟัลครัม (Fulcrum) ซึ่งถูกใช้อย่างไม่เป็นทางการโดยนักบินโซเวียต[1]มันถูกสร้างขึ้นเพื่อต่อกรกับเครื่องบินขับไล่ใหม่ของสหรัฐฯ อย่างเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เนต



การพัฒนา

ในปีพ.ศ. 2522 สหภาพโซเวียตได้เรียนรู้จากโครงการ"เอฟ-เอ็กซ์"ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดเอฟ-15 อีเกิลขึ้น มา ไม่นานผู้นำฝ่ายโซเวียตได้ตระหนักถึงเครื่องบินขับไล่ของอเมริกาที่อาจก้าว หน้ากว่าเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต สิ่งที่ต้องการก็คือเครื่องบินขับไล่ที่ดีกว่าทั้งความรวดเร็วและระบบที่ทัน สมัย เหล่านายพลโซเวียตได้ประกาศความต้องการพีเอฟไอ (รัสเซีย: Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, แปลหยาบๆ ว่า"เครื่องบินขับไล่สำหรับแนวหน้าที่ทันสมัย") รายละเอียดเฉพาะนั้นทะเยอทะยานอย่างมาก มันต้องมีพิสัยที่ไกล ทำงานในรันเวย์สั้นได้ มีความคล่องตัวสูง ทำความเร็วได้ตั้งแต่ 2 มัคขึ้นไป และมีอาวุธขนาดหนัก การออกแบบทางด้านอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบินลำใหม่นี้ทำโดยทีเอสเอจีไอ (TsAGI) โดยร่วมมือกับซุคฮอย (สิ่งนี้ทำให้เกิดซุคฮอย ซู-27)

อย่างไรก็ดีในปีพ.ศ. 2524 โซเวียตตัดสินใจว่าเครื่องบินพีเอฟำอนั้นมีราคาแพงเกินไปที่จะสร้างให้ได้ ตามความต้องการ และแบ่งความต้องการออกเป็นสองโครงการคือทีพีเอฟไอ (รัสเซีย: Tyazhyolyy Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีก้าวหน้าขนาดหนัก") และแอลพีเอฟไอ (รัสเซีย: Lyogkiy Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีก้าวหน้าขนาดเบา") มันคล้ายคลึงกับโครงการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนและวายเอฟ-17 คอบรา เครื่องบินขับไล่ขนาดหนักทำโดยซุคฮอยจนได้ซุคฮอย ซู-27 ขึ้นมา ในขณะที่เครื่องบินขับไล่ขนาดเบาทำโดยมิโคยัน มันมีชื่อว่ามิก-29เอโดยเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2527 โดยทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เครื่องบินที่สร้างออกมาก่อนการผลิตถูกพบโดยดาวเทียมสอดแนมของสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนในปีนั้นเอง มันถูกเรียกว่าแรม-แอล (Ram-L) เพราะว่ามันถูกพบที่ศูนย์ทดสอบการบินซูคอฟสกี้ที่อยู่ใกล้กับเมื่องราเมนสคอย การพิจารณาในครั้งแรกแนะว่าแรม-แอลคล้ายคลึงกับวายเอฟ-17 คอบราและใช้เครื่องยนต์ไอพ่นพร้อมสันดาปท้ายแบบทูแมนสกี้ อาร์-25


มิก-29 จอดในขณะทำการทดสอบการบินที่งานแสดงแอบบอทสฟอร์ดในปีพ.ศ. 2532


ถึงแม้ว่าการล่าช้าของโครงการเกิดจากการสูญเสียเครื่องยนต์ต้นแบบสองเครื่องในอุบัติเหตุ มิก-29บีรุ่น ผลิตก็ถูกส่งเข้าประจำการในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2526 ที่ฐานทัพอากาศคูบินคา การตกลงเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2527 และการส่งก็เริ่มขึ้นในปีเดียวกันให้กับกองทัพอากาศรัสเซีย

การทำงานแบ่งออกระหว่างทีพีเอฟไอกับแอลพีเอฟไอกลายเป็นมิก-29 ที่เข้าประจำการในแนวหน้าในกลางทศวรรษ 2523 ในขณะที่ซู-27 ได้รับงานที่อันตรายกว่าในการต่อสู้ทางอากาศกับนาโต้ มิก-29 ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้ามาแทนที่มิก-23 ในบทบาทแนวหน้า มิก-29 ถูกวางตำนแห่งให้ใกล้กับแนวหน้า ทำงานน่านฟ้าของโซเวียต ล้อลงจอดและตะแกรงหน้าเครื่องยนต์ทำให้มิก-29 สามารถทำงานในสภาพที่ได้รับความเสียหายหรือซ่อมแซมอยู่ได้ มิก-29 ยังทำหน้าที่คุ้มกันให้กับการโจมตีทางอากาศ ปกป้องเครื่องบินจู่โจมภาคพื้นดินจากเครื่องบินขับไล่ของนาโต้อย่างเอฟ-15 และเอฟ-16 มิก-29 ทำให้กองทัพบกของโซเวียตปลอดภัยจากด้านบน


มิก-29ยูบีสำหรับฝึก

ในด้านตะวันตกเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ได้ชื่อจากนาโต้ว่าฟัลครัม-เอจาก การสร้างก่อนการผลิตของมิก-29เอ ซึ่งใช้ชื่อนี้มาก่อนในตอนที่ทางตะวันตกยังไม่รู้ถึงการมีอยู่ของมัน มิก-29บีถูกส่งออกอย่างกว้างขวางโดยมีชื่อว่ามิก-29บี 9-12เอและมิก-29บี 9-12บี (สำหรับประเทศที่ลงชื่อในสนธิสัญญาวอซอว์และไม่ได้ลงชื่อ ตามลำดับ) พวกมันมีระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่ด้อยกว่าและไม่สามารถบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ได้ เครื่องบินถูกสร้างขึ้นทั้งหมดประมาณ 840 ลำ

รุ่นที่ดีกว่าของมิก-29 มีการพัฒนาด้านระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่ใช้โดยสหภาพโซเวียต แต่แบบอื่นๆ ของมิโคยันที่รวมทั้งรุ่นสำหรับใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีชื่อว่ามิก-29เคนั้น ไม่เคยถูกสร้างออกมาในจำนวนมาก หลังยุคโซเวียตการพัฒนามิก-29 ได้รับอิทธิพลมาจากการแข่งขันของมิโคยันต่อคู่แข่งอย่างซุคฮอย บางรุ่นที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าได้ทำการส่งออกและใช้โดยรัสเซีย รุ่นใหม่ที่ถูกเรียกว่ามิก-29เอสเอ็มทีและมิก-29เอ็ม1/เอ็ม2 กำลังอยู่ในการพัฒนา นอกจากนั้นแล้วการพัฒนาสำหรับรุ่นบนเรือบรรทุกเครื่องบินหรือมิก-29เคนั้นถูกใช้ต่อไปโดยเรือบรรทุกเครื่องบินกอร์ชคอฟกองทัพเรืออินเดีย รุ่นนี้เดิมทีจะถูกใช้โดยเรือบรรทุกเครื่องบินคุซเนทซอฟ แต่ซุคฮอย ซู-30 ถูกใช้แทน

สหภาพโซเวียตไม่ได้ให้ชื่ออย่างเป็นทางการให้กับเครื่องบินส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าชื่อเล่นจะถูกใช้ก็ตาม น่าแปลกที่นักบินโซเวียตใช้คำว่าฟัลครัมของนาโต้เรียกมันและบางครั้งรัสเซีย ก็ใช้ชื่อนี้อย่างไม่เป็นทางการ[1]

การออกแบบ

จุดเด่น

เพราะว่ามันถูกออกแบบมาจากเครื่องบินพีเอฟไอของทีเอสเอจีไอ มิก-29 จึงมีระบบอากาศพลศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับซุคฮอย ซู-27 แต่มีข้อแตกต่างที่โดดเด่นกว่าบ้าง โครงสร้างส่วนใหญ่ทำมาจากอะลูมิเนียมและ วัสดุผสม มันมีปีกแบบลู่ที่กลืนเข้ากับปีกเสริมที่ส่วนหน้าโดยทำมุม 40 องศา มันมีส่วนหางที่ลู่ไปทางด้านหลังและหางคู่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนท้ายเครื่อง ยนต์ มันมีแพนปีกส่วนหน้าสี่ส่วนและห้าส่วนในรุ่นต่อๆ มา เมื่อมันถูกนำมาใช้งานมันเป็นเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นแบบแรกของรัส เซียที่สามารถทำกระบวนท่าที่เรียกว่าปูกาเชฟส์คอบราได้

มิก-29 มีการควบคุมด้วยไฮดรอลิกและระบบนักบินอัตโนมัติเอสเอยู-451 แต่ไม่เหมือนกันซู-27 ตรงที่มันไม่มีระบบฟลาย-บาย-ไวร์ ถึงกระนั้นมันก็มีความว่องไวและการเลี้ยวที่ยอดเยี่ยม มันสามารถทำมุมปะทะได้ ในระดับอัลฟา และมีการต้านทานการหมุน โครงสร้างถูกทำให้สามารถรับแรง 9 จีได้ การควบคุมมีการจำกัดเพื่อป้องกันไม่ให้นักบินทำแรงมากกว่า 9 จี แต่ก็สามารถปลดระบบนี้ออกได้ ในการฝึกของกองทัพอากาศสหรัฐร่วมกับกองทัพอากาศเยอรมนี มิก-29 ของฝ่ายเยอรมนีได้เอาชนะเอฟ-16 ในการต่อสู้ระยะใกล้แทบจะทุกครั้งด้วยการใช้เซ็นเซอร์ไออาร์เอสทีและหมวก แสดงภาพ พร้อมกับขีปนาวุธวิมเปล อาร์-73

ขุมกำลัง

มิก-29 มีเครื่องยนต์คลิมอฟ อาร์ดี-33 ขนาดใหญ่สองเครื่องยนต์ที่ให้อัตราแรงขับ 11,240 ปอนด์และ 18,277 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย พื้นที่ระหว่างเครื่องยนต์มีไว้เพื่อลดน้ำหนักที่ปีกเพื่อเพิ่มความคล่องตัว เครื่องยนต์มีช่องรับลมทรงลิ่มที่อยู่ใต้ปีกเสริม ซึ่งมีส่วนลาดเอียงที่ปรับได้เพื่อทำความเร็วเหนือเสียงได้ เมื่อมีการนำมาใช้กับสนามบินที่ขรุขระ ช่องรับลมหลักจะถูกปิดสนิทและใช้ช่องรับลมสำรองที่ด้านบนของลำตัวแทนสำหรับ การวิ่งขึ้น ลงจอด หรือบินในระดับต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษอะไรเข้าไปในเครื่องยนต์จนเกิดความเสียหาย ดังนั้นเครื่องยนต์จึงได้รับอากาศผ่านช่องบานเกล็ดบนปีกเสริมซึ่งจะเปิดโดย อัตโนมัติเมื่อช่องรับลมหลักถูกปิด อย่างไรก็ตามในแบบล่าสุดของตระกูลมิก คือมิก-35 ได้นำส่วนบานเกล็ดนี้ออกไปและใช้ช่องรับลมที่มีตะแกรงแทน ซึ่งคล้ายคลึงกับของซู-27[2]

พิสัยและระบบเชื้อเพลิง

ความจุเชื้อเพลิงภายในของมิก-29บีนั้นมีเพียง 4,365 ลิตรโดย แบ่งเป็นหกส่วนในถังเชื้อเพลิง สี่ส่วนในลำตัว และหนึ่งส่วนในปีกแต่ละข้าง ผลที่ได้คือเครื่องบินมีพิสัยที่จำกัดมากเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ ป้องกันเฉาะบริเวณของโซเวียตแบบดั้งเดิม เพื่อให้ทำการบินได้นานมากขึ้นสิ่งนี้สามารถเพิ่มได้โดยใช้ถังเชื้อเพลิง กลางที่ปลดได้ขนาด 1,500 ลิตร และถังเชื้อเพลิงข้างที่ปลดได้ขนาด 1,150 ลิตรสองถังโดยติดตั้งไว้ใต้ปีก นอกจากนี้มีส่วนน้อยที่ใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ มิก-29บีบางลำมีโครงสร้างที่ถูกพัฒนามาเพื่อเป็นแบบที่เรียกว่า"แฟ็ทแบ็ค" (Fatback) (มิก-29 9-13) ซึ่งเพิ่มเชื้อเพลิงภายในไปในส่วนแกนกลาง แม้ว่าจะไม่มีลำใดก็ตามที่เข้าประจำการ

ห้องนักบิน


ห้องนักบินของมิก-29 เมื่อปีพ.ศ. 2538

ห้องนักบินมีจุดเด่นคือคันบังคับตรงกลางและคันเร่งที่ด้านข้าง นักบินจะนั่งอยู่ในเก้าอี้ดีดตัวแบบซเวซดา เค-36ดีเอ็ม ซึ่งมีการทำงานที่ดีมากในเหตุฉุกเฉิน

ห้องนักบินมีหน้าปัดอำนวยความสะดวกพร้อมกับหน้าจอฮัดหรือเฮด-อัพ ดิสเพลย์และ หน้าจอติดหมวกแบบชเชล-2ยูเอ็ม ดูเหมือนว่าจะเป็นการเน้นไปที่การทำห้องนักบินให้เหมือนกับมิก-23 และเครื่องบินลำอื่นๆ ของโซเวียตเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงมากกว่าความสะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ถึงกระนั้นมิก-29 มีมุมมองที่ดีกว่าเครื่องบินขับไล่ลำอื่นๆ ของรัสเซียเพราะฝาครอบทรงโค้งที่อยู่ในตำแหน่งสูง

เซ็นเซอร์

ส่วนสำคัญของมิก-29บีคือระบบควบคุมการยิงด้วยเรดาร์แบบอาร์ แอลพีเค-29 ของพาโซตรอน ซึ่งรวมทั้งเรดาร์คลื่นพัลส์แบบติดตามแล้วยิงรุ่นเอ็นโอ19 และคอมพิวเตอร์ดิจิตอลรุ่นทีเอส100.02-02 เอ็นไอ19เอรุ่นเดิมถูกคาดว่าจะใช้กับมิก-29 แต่กลับไม่ตรงกับทีวีวีเอสต้องการ พิสัยติดตามต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่มีเพียง 70 กิโลเมตรเท่านั้น พิสัยต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินทิ้งระเบิดน้อยมากกว่านั้นเกือยเท่าตัว เป้าหมายสิบเป้าหมายสามารถปรากฏขึ้นในรูปแบบตรวจจับ แต่เรดาร์จะล็อกเพียงหนึ่งเป้าหมายสำหรับขีปนาวุธกึ่งเรดาร์ ตัวประมวลผลสัญญาณยังมีปัญหากับความวุ่นวายบนพื้นดิน ปัญหาเหล่านี้ทำให้มิก-29 ไม่ดีพอที่จะใช้จีปนาวุธพิสัยไกลอันใหม่วิมเปล อาร์-27อาร์ในพิสัยสูงสุดของมันได้

ข้อด้อยเหล่านี้มีมากขึ้นเมื่อความจริงของเรดาร์เอ็นโอ19 ที่ว่ามันไม่ใช่การออกแบบใหม่ ระบบนั้นพัฒนามาจากแซปเย2-23เอ็มแอลของเดิมที่มีอยู่แล้ ในการออกแบบมิก-29 เริ่มแรกทางพาโซตรอนได้รับมอบหมายให้สร้างเรดาร์ที่ทันสมัยขึ้นให้กับมิก-29 เพื่อเร่งการพัฒนาพาโซตรอนจึงใช้แบบจากโครงการอื่นที่บริษัทอื่น ตามที่กล่าวเอ็นโอ19 เดิมทีนั้นตั้งใจที่จะเป็นเสาอากาศเรียบและมีการใช้สัญญาณดิจิตอลเต็มรูปแบบ ทำให้มีพิสัยตรวจจับและติดตาม 100 กิโลเมตรต่อเครื่องบินขับไล้ ไม่นานการทดสอบและต้นแบบก็เผยให้เห็นว่าสิ่งนี้ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในเวลา ที่จำกัด อย่างน้อยก็ไม่ใช่เรดาร์ซึ่งอยู่ที่ส่วนจมูกของมิก-29 มากกว่าที่จะเป็นแบบใหม่ทั้งหมดพาโซตรอนได้ดัดแปลงรุ่นก่อนหน้าของแซปเฟีย -23เอ็มแอลเพื่อลดเวลาและราคา ระบบนี้ใช้หน่วยประมวลผลอนาล็อกแบบเดียวกันกับรุ่นก่อนหน้า พร้อมกับคอมพิวเตอร์ดิจิตอลทีเอส100 Tมรขณะที่การตัดสินใจครั้งนี้จะสร้างเรดาร์ให้กับเครื่องบินใหม่ได้ทัน มันก็มีจุดอ่อนของรุ่นก่อนหน้าทั้งหมด

เซ็นเซอร์

มิก-29บีนั้นมีเรดาร์ควบ คุมการยิงรุ่นอาร์แอลพีเค-29 ของพาโซตรอนซึ่งรวมทั้งเรดาร์พัลส์รุ่นเอ็นโอ19 และคอมพิวเตอร์รุ่นทีเอส100.02-02 เอ็นโอ19เอแบบเก่านั้นไม่ได้ตรงตามมาตรฐานในโครงการสร้างเครื่องบินขับไล่ ใหม่ พิสัยติดตามของมันต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่นั้นมีเพียง 70 กิโลเมตร พิสัยติดตามต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินทิ้งระเบิดมีเกือบเท่าตัว ในรูปแบบตรวจจับมันจะสามารถหาหาได้สิบเป้าหมายแต่ก็มีเพียงเป้าหมายเดียว เท่านั้นที่เรดาร์จะทำการล็อกเป้าเพื่อยิงขีปนาวุธ หน่วยประมวลผลสัญญาณยังมีปัญหาต่อความวุ่นวายบนพื้นดิน ปัญหาเหล่านี้ทำให้มิก-29 ไม่เหมาะกับการใช้ขีปนาวุธใหม่อย่างวิมเปล อาร์-27 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การทำงานที่บกพร่องเหล่านี้เกิดจากความจริงที่ว่าเรดาร์เอ็นโอ19 นั้นที่จริงแล้วไม่ใช่การออกแบบใหม่ มันคือระบบที่พัฒนามาจากระบบเก่าที่มีอยู่แล้ว ในตอนแรกผู้สร้างเรดาร์ได้รับมอบหมายให้สร้างเรดาร์ที่ทันสมัยขึ้นสำหรับมิ ก-29 แต่เพื่อความรวดเร็วทางพาซาตรอนจึงได้ใช้แบบเก่ามาทำใหม่ เราดร์เอ็นโอ19 นั้นเดิมทีจะมีเสาอากาศแบบแบนและการประมวลผลสัญญาณแบบดิจิตอล ทำให้การตรวจจับและพิสัยการตรวจจับอย่างน้อย 100 กิโลเมตรลำหรับเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่ การพัฒนาเทคโนโลยีการบินของโซเวียตตอนนั้นเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน การทดสอบและต้นแบบก็ทำให้รู้ว่ามันจะต้องเสร็จภายนเวลาที่จำกัด แทนที่การออกแบบเรดาร์จะเป็นแบบใหม่ทั้งหมด ทางพาโซตรอนได้ดัดแปลงระบบเก่ามาใช้แทนเพื่อประหยัดเวลาและเงิน ระบบนี้ใช้หน่วยประมวลผลแบบอานาล็อกเช่นเดียวกับเก่า พร้อมด้วยคอมพิวเตอร์ทีเอส100 ในขณะที่การตัดสินใจนี้เป็นการสร้างเรดาร์ให้กับเครื่องบินแบบใหม่ มันก็ได้นำไปสู่จุดอ่อนต่างๆ ของแบบเก่า แม้ว่าจะมีการออกแบบเรดาร์เอ็นโอ10 ขึ้นมา แต่มิก-29 ส่วนใหญ่ที่ยังประจำการอยู่นั้นก็ยังใช้เรดาร์เอ็นโอ19 ต่อไป แม้ว่าตามโครงการต้องการที่จะให้พัฒนาเครื่องบินมิก-29 ให้เข้าขั้นสมบูรณ์ก็ตาม

เรดาร์เอ็นโอ19 ได้รับการดูแลโดยนักออกแบบที่ได้ทรยศไปอยู่กับฝ่ายซีไอเอ เพราะเขาถูกประหารในปีพ.ศ. 2529 เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งหมดทางโซเวียตรีบทำการพัฒนาเรดาร์เอ็นโอ19เอ็มขึ้นมาให้ กับมิก-29เอส อย่างไรก็ตามโครงการก็ยังไม่พอใจในการทำงานของระบบและต้องการให้ทำการพัฒนา เพิ่ม การพัฒนาล่าสุดคือเอ็มโอ10 ซึ่งมีเสาอากาศราบมากกว่าเป็นแบบจานกลม มีพิสัยที่มากขึ้น ความสามารถในการปะทะเป้าหมายจำนวนมากในเวลาเดียวกัน และสามารถใช้วิมเปล อาร์-7 ได้ จุดเด่นที่มีประโยชน์ของมิก-29 ที่เหมือนกับซู-27 คือเลเซอร์หาระยะและระบบไออาร์เอสทีที่อยู่ในส่วนคล้ายลูกตาที่ด้านหน้าห้อง นักบิน มันต้องพึ่งเรดาร์ในบางครั้งหรืออาจไม่ต้องใช้เรดาร์เลย

อาวุธ

อาวุธของมิก-29 มีทั้งปืนใหญ่อากาศจีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม.หนึ่งกระบอกที่โคนปีก เดิมทีนั้นมันใช้แมกกาซีน 150 นัดซึ่งต่อมาได้ลดเหลือ 100 นัด มิก-29บีแบบเดิมนั้นไม่สามารถทำการยิงปืนได้เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงตรง กลางเพราะว่ามันจะไปบังช่องดีดกระสุน ต่อมาได้มีการแก้ไขในมิก-29เอสและรุ่นต่อๆ มา มีจุดติดตั้งสามจุดใต้ปีกแต่ละข้าง (บางแบบก็สี่) จุดติดตั้งภายในสามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาด 1,150 ลิตร ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางวิมเปล อาร์-27 หนึ่งลูก หรือระเบิดหรือจรวด เครื่องบินบางลำของโซเวียตสามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ไว้ภายในได้ จุดติดตั้งภายนอกมักติดตั้งขีปนาวุธวิมเปล อาร์-73 แม้ว่าบางครั้งจะมีการใช้มอลนิยา อาร์-60 ที่เก่ากว่า ถังเชื้อเพลิงขนาด 1,500 ลิตรหนึ่งถังสามารถติดเข้าไปที่ส่วนกลางระหว่างเครื่องยนต์สำหรับการบินขน ส่ง (การบินส่งมอบเครื่องบิน) แต่จะไม่ใช้ในการต่อสู้ มิก-29บีสามารถบรรทุกระเบิดทั่วไปและจรวด แต่จะไม่มีอาวุธนำวิถี รุ่นที่ได้รับการพัฒนาจะสามารถใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้เช่นเดียวกับขีปนาวุธอากาศสู่พื้น

ประวัติการใช้งาน

สหภาพโซเวียตได้ส่งออกมิก-29 ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ เนื่องมาจากว่าเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 นั้นต้องบินโดยนักบิน โครงสร้างระบบการป้องกัน และการดูแลรักษาที่ดี มิก-29 จึงทีหน้าที่ในกองทัพอากาศมากมาย[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ตัวอย่างเช่น ในขณะที่มิก-29 มีประวัติการทำงานที่ดีในกองทัพอากาศอินเดียซึ่งลงทุนอย่างมากในด้านอากาศยาน แต่มันก็ทำหน้าที่ได้ไม่ดีนักในกองทัพอากาศของอิรักและยูโกสลาเวีย

สหภาพโซเวียตและรัสเซีย

มิก-29 ถูกพบเห็นโดยสาธารณะครั้งแรกในฝั่งตะวันตกเมื่อสหภาพโซเวียตนำมันไปแสดงที่ฟินแลนด์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 มิก-29 อีกสองลำถูกจัดแสดงในงานฟาร์นโบโรที่สหราชอาณาจักรเมื่อ เดือนกันยายนปี พ.ศ. 2531 ปีต่อมามันได้แสดงการบินในงานแสดงที่ปารีสเมื่อปีพ.ศ. 2531 ที่ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในสัปดาห์แรกของการแสดง[3] ผู้เฝ้ามองฝั่งตะวันตกประทับใจในความสามารถและความคล่องแคล่วของมัน เมื่อโซเวียตล่มสลายมิก-29 ส่วนมากเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย

ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551 จอร์เจียได้กล่าวโทษมิก-29 ของรัสเซียที่ยิงยูเอวีเฮอร์เมส 450 ของพวกเขาตกและได้ทำการบันทึกวิดีโอที่แสดงให้เห็นมิก-29 ที่กำลังยิงขีปนาวุธใส่มัน รัสเซียปฏิเสธว่าเครื่องบินเป็นของพวกเขาและกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ทำการบิน ใดๆ เลยในวันนั้น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในอับคาเซียอ้างว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ยิงยูเอวีตกด้วยแอโร แอล-39 อัลบาทรอสเพราะว่ามันบินล้ำเข้ามาในน่านฟ้าของพวกเขา[4] การสืบสวนของสหประชาชาติสรุปได้ว่าวิดีโอเป็นของจริงและยูเอวีถูกยิงโดยมิก-29 หรือซู-27 ของรัสเซียโดยใช้ขีปนาวุธติดตามความร้อนวิมเปล อาร์-73[5]

กองทัพอากาศรัสเซียได้สั่งระงับการบินมิก-29 ทั้งหมดหลังจากเหตุการณ์ตกในเซอร์เบียเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551[6] หลังจากการตกครั้งที่สองของมิก-29 ในเซอร์เบียในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[7][8] ทางการรัสเซียยอมรับว่ามิก-29 ส่วนใหญ่ในกองทัพอากาศของตนไม่สามารถทำหน้าที่ได้เนื่องมาจากการซ่อมบำรุง ที่ไม่ดี อายุการใช้งานของเครื่องบินประมาณ 70% ถูกจัดว่าเก่าเกินไปที่จะทำการบิน[9] มิก-29 ของรัสเซียไม่ได้รับการพัฒนาตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต นั่นก็เพราะกองทัพอากาศรัสเซียเลือกที่จะพัฒนาซู-27 และมิก-31 แทน ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 กองทัพอากาศรัสเซียได้กลับมาใช้มิก-29 อีกครั้ง[10] อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 มิก-29 จำนวน 91 ลำของกองทัพอากาศรัสเซียต้องการการซ่อมแซมหลังจากการตรวจสอบ มิก-29 ประมาณ 100 ลำผ่านการตรวจและให้บินต่อได้[11][12]

อินเดีย

อินเดียเป็นลูกค้ารายต่างประเทศรายแรกของมิก-29[13] กองทัพอากาศอินเดียได้ วางแผนซื้อมิก-29 เพิ่มอีกกว่า 50 ลำ ในปีพ.ศ. 2523 ในขณะที่เครื่องบินยังคงอยู่ในช่วงการพัฒนาแรกเท่านั้น ตั้งแต่ที่มันได้ปรากฏตัวในกองทัพอากาศอินเดียในปีพ.ศ. 2528 มันก็ได้ประสบกับการดัดแปลงมากมาย อย่าง ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ระบบสำรอง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน และเรดาร์[14] รุ่นพัฒนาของอินเดียใช้ชื่อว่าบาอาซ (ภาษาฮินดีแปลว่าเหยี่ยว) และทำให้เกิดกองบินโจมตีขึ้นมาตามซุคฮอย ซู-30เอ็มเคไอ

สถิติการทำงานที่ดีของมิก-29 ทำให้อินเดียทำสัญญากับรัสเซียในปีพ.ศ. 2548 เพื่อพัฒนามิก-29 จำนวน 67 ลำ ภายใต้ข้อตกลงมิก-29 ของอินเดียถูกดัดแปลงให้ใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศอาร์-77อาร์วีวี-เออี ขีปนาวุธนี้ได้รับการทดสอบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 และนำไปใช้กับมิก-29 ของกองทัพอากาศอินเดีย นอกจากนั้นทางกองทัพอากาศยังได้ทำสัญญาเพิ่มในการพัฒนามิก-29 ทั้งหมด 69 ลำ การพัฒนานี้รวมทั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศใหม่ เครื่องบินยังถูกติดตั้งความสามารถในการโจมตีเกินสายตาและระบบเติมเชื้อ เพลิงทางอากาศ[15] ในปีพ.ศ. 2551 รัสเซียอนุญาตให้อินเดียทำการผลิคเครื่องยนต์อาร์ดี-33 ซีรีส์ส 3 จำนวน 120 เครื่องภายใต้ใบอนุญาตเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา[16] การพัฒนายังรวมทั้งระบบควบคุมอาวุธแบบใหม่ การจัดความเหมาะสมในห้องนักบิน ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูง และระเบิดอัจริยะ มิก-29 หกลำแรกจะถูกพัฒนาในรัสเซียในขณะที่อีก 63 ลำที่เหลือจะถูกพัฒนาในอินเดีย อินเดียยังได้ทำสัญญากับอุตสหกรรมอากาศยานของอิสราเอลเพื่อสร้างระบบอิเล คทรอกนิกอากาศและระบบรองเพื่อทำการพัฒนาต่อไป[17]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 กองทัพเรืออินเดียได้ทำสัญญาในการรับมอบมิก-29เค 12 ลำและมิก-29เคยูบี 4 ลำ[18] มิก-29เคยูบีลำแรงผลิตมาสำหรับกองทัพเรือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551[19] เครื่องบินสี่ลำแรกถูกส่งมอบให้กับอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[20] นอกจากนั้นยังมีรายงานว่ากองทัพเรืออินเดียอาจจะสั่งซื้อมิก-29เคเพิ่มอีก 30 ลำและเคยูบีเพื่อนำไปใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน[21][22]

กองทัพอากาศอินเดียเริ่มกังวลหลังจากที่มิก-29 จำนวน 90 ลำในรัสเซียถูกระงับการบิน[23] หลังจากที่ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดกองทัพอากาศอินเดียก็ได้ปล่อยให้มิก-29 ทำงานต่อไปได้[24]

ความขัดแย้งในคาร์จิล

มิก-29 ของอินเดียได้ทำหน้าที่ในสงครามคาร์จิลในแคว้นแคชเมียร์เมื่อปีพ.ศ. 2542 กองทัพอากาศอินเดียได้ใช้มิก-29 บ่อยครั้งในการคุ้มกันมิราจ 2000 ซึ่งถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ใส่เป้าหมาย ตามแหล่งข้อมูลของอินเดียมิก-29 จากฝูงบินที่ 47 ได้พบเป้าหมายที่เป็นเอฟ-16 สองลำของกองทัพอากาศปากีสถานซึ่ง ล่วงล้ำเข้ามา เนื่องจากว่าทั้งสองประเทศไม่ได้ทำสงครามอย่างเป็นทางการในตอนนั้น มิก-29 จึงไม่ได้รับคำสั่งให้เข้าโจมตี หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวกองทัพอากาศปากีสถานได้สั่งการให้เครื่องบินทั้ง หมดบินในน่านฟ้าของปากีสถานเท่านั้น[25]

ยูโกสลาเวียและเซอร์เบีย

ยูโกสลาเวียเป็นประเทศแรกในยุโรปหลังจากสหภาพโซเวียตที่ใช้มิก-29 กองทัพอากาศยูโกสลาเวียได้ สั่งซื้อมิก-29 ทั้งสิ้น 14 ลำและมิก-29ยูบีสองลำจากสหภาพโซเวียตเมื่อปีพ.ศ. 2530 มิก-29 ถูกนำเข้าประจำการในฝูงบินที่ประจำการอยู่ในกรุงเบลเกรดซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐเซอร์เบีย

มีเครื่องบินทั้งหมด 16 ลำที่ยังคงอยู่ ตั้งแต่ที่ยูโกสลาเวียต้องการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงของตน เอง มิก-29 ของยูโกสลาเวียนั้นไม่ค่อยได้ทำการต่อสู้ในสงคราม และถูกใช้โจมตีภาคพื้นดินเป็นหลัก เครื่องบินขนส่งแอนโตนอฟ แอน-2 จำนวนมากของโครเอเชียถูกทำลายโดยมิก-29 เมื่อปีพ.ศ. 2534

ในขณะที่มิก-21 จำนวนมากถูกจัดการโดยกองกำลังของโครเอเชีย กลับไม่มีมิก-29 ลำใดเลยที่ถูกยิงตกในสงคราม[26]

การแทรกแซงของนาโต้ในยูโกสลาเวีย

มิก-29 ยังคงทำหน้าที่ของมันในกองทัพอากาศของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรและในที่สุดก็ เป็นกองทัพอากาศเซอร์เบีย ตลอดช่วงเวลาที่มีการสั่งห้ามขนส่งอาวุธในประเทศสภาพของมิกก็แย่ลง ก่อนที่จะเกิดปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซมิ กของยูโกสลาเวียนั้นมีอายุมากกว่า 10 ปีและขาดอะไหล่ บางลำถูกแยกชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้กับลำอื่น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 กองทัพอากาศยูโกสลาเวียมีมิก-29 จำนวน 11 ลำเท่านั้นที่ใช้งานได้

มิก-26 ทั้งหมดหกลำถูกยิงตกโดยสี่ลำถูกยิงตกโดยเอฟ-15ซี และอีกหนึ่งลำโดยเอฟ-16ซีเจของกองทัพอากาศสหรัฐ หรือถูกยิงตกโดยพวกเดียวกันเองและถูกยิงโดยเอฟ-16เอเอ็มของเนเธอร์แลนด์[27][28] ลำอื่นถูกทำลายขณะอยู่บนพื้นและอีกหนึ่งลำตกลงและถูกทำลายเนื่องจากว่ามันถูกใช้เป็นเป้าล่อ[29]

หลังสงคราม

หน่วยยังคงบินมิก-29 ที่เหลืออีกห้าลำต่อไปหลังจากสงคราม ในฤดูใบไม้ผลิเมื่อปีพ.ศ. 2547 มีข่าวที่ดูเหมือนว่ากองทัพอากาศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรได้หยุดใช้มิก-29 เพราะว่ามันไม่สามารถซ่อมบำรุงได้อีกต่อไป[26]

ในปัจจุบันมิก-29 กลับเข้าสู่การทำหน้าที่ในกองทัพอากาศเซอร์เบีย มิก-29 ลำแรกปฏิบัติการอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ลำที่สองในเดือนมีนาคม และลำที่สามในเดือนพฤษภาคม อีกสองลำเริ่มทำหน้าที่อีกครั้งในฤดูร้อนปีพ.ศ. 2551 การปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์[30] มิก-29 ลำที่สองที่เข้าประจำการถูกใช้สำหรับการฝึกนักบินมิก-29[31] เครื่องบินลำที่สามและสี่ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ร่วมบินกับอีกสองลำแรกเหนือกรุงเบลเกรดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

เยอรมนี


มิก-29 ที่ทำสีตามธงชาติของเยอรมนี

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีได้ซื้อมิก-29 จำนวน 24 ลำ (รุ่นเอ 20 ลำและรุ่นยูบี 4 ลำ) ซึ่งได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2531-2532 หลังจากที่กำแพงเบอร์ลินถูกทำลายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และการรวมประเทศของเยอรมนีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 มิก-29 และเครื่องบินลำอื่นๆ ของกองทัพอากาศเยอรมนีเดิมถูกรวมเข้าในกองทัพอากาศเยอรมนี

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของอเมริกาอ้างว่ามิก-29 นั้นเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเอฟ-15ซีในบางจุดอย่างเช่น การปะทะระยะสั้น เพราะหมวกพิเศษและความคล่องตัวที่เหนือกว่าในความเร็วต่ำ[32] สิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นเมื่อมิก-29 ของเยอรมนีได้ทำการฝึกรบกับเครื่องบินขับไล่ของอเมริกา[33][34] หมวกพิเศษนั้นให้การช่วยเหลืออย่างมาก มันทำให้นักบินเยอรมันมองไปที่เป้าหมายใดก็ได้ภายในระยะยิงของขีปนาวุธ[35] เมื่อเทียบกันแล้วเครื่องบินของอเมริกาทำได้แค่เพียงมองเห็นเป้าหมายในช่องแคบๆ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2546 กองทัพอากาศสหรัฐและกองทัพเรือสหรัฐได้เริ่มโครงการสร้างหมวกพิเศษสำหรับการมองขึ้นมา

ในช่วงที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศเยอรมัน มิก-29 ลำหนึ่งตกในอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เนื่องจากความผิดพลาดของนักบิน ในปีพ.ศ. 2546 นักบินของเยอรมนัได้ทำการบินกว่า 30,000 ชั่วโมงด้วยมิก-29 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 มิก 22 ลำจาก 23 ลำถูกขายให้กับกองทัพอากาศโปแลนด์[36] เครื่องบินลำสุดท้ายถูกย้ายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547[37] มิก-29 ลำที่ 23 ถูกนำไปแสดงในเยอรมนี[38]

โปแลนด์

มิก-29 12 ลำแรก (มิก-29เอ 9 ลำและมิก-29ยูบี 3 ลำ) ถูกส่งมอบให้กับโปแลนด์ในปีพ.ศ. 2532-2533 ในปีพ.ศ. 2538 มีการใช้เพื่อทดสอบโดยสาธารณรัฐเช็กจำนวน 10 ลำ หลังจากการปลดประจำการของมิก-21 และมิก-23 ในปีพ.ศ. 2546 โปแลนด์มีมิก-29 เพียง 22 ลำเท่านั้นที่ทำหน้าที่สกัดกั้น

ในปีพ.ศ. 2547 โปแลนด์ได้รับมิก-29 จำนวน 22 ลำจากเยอรมนี 14 ลำในนั้นได้รับการยกเครื่องใหม่และนำเข้าประจำการแทนที่มิก-21 ในปัจจุบันโปแลนด์มีมิก-29 32 ลำ (มิก-29เอ 26 ลำและมิก-29ยูบี 6 ลำ) ซึ่งจะทำหน้าที่จนถึงปีพ.ศ. 2555 ในปีพ.ศ. 2551 โปแลนด์เป็นประเทศในกลุ่มนาโต้ที่มีมิก-29 มากที่สุด ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเครื่องบินเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานจนถึงปีพ.ศ. 2563 กำลังอยู่ในการพิจารณา มันขึ้นอยู่กับว่ามิโคยันจะให้ความร่วมมือหรือไม่

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 มิกได้รับการสนับสนุนจากเอฟ-16 บล็อก 52+ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 เอฟ-16 ยังใช้เพื่อแทนที่มิก-21 อีกด้วย

ไม่มีการยืนยันว่าโปแลนด์ได้ทำสัญญาเช่ามิก-29 อย่างน้อยหนึ่งลำให้กับอิสราเอลเพื่อทำการพัฒนาและตั้งแต่ที่เครื่องบินลำดังกล่าวกลับมาที่โปแลนด์ ตามที่มีรูปยืนยันการมีอยู่ของมิก-29 ในอิสราเอล

สหรัฐอเมริกา

ในปีพ.ศ. 2540 สหรัฐได้ซื้อเครื่องบินของมอลโดวาภาย ใต้ญาการลดอาวุธ มีมิก-29 14 ลำซึ่งติดตั้งตัวรบกวนเรดาร์และสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ การที่สหรัฐซื้อเครื่องบินเหล่านี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันถูกขายให้กับ ประเทศที่ชอบทำสงครามโดยเฉพาะอิหร่าน[39] การซื้อครั้งนี้ยังทำให้กองทัพอากาศสามารถทำการพัฒนาและศึกษาข้อมูลของมิก -29 ข้อมูลเหล่านั้นอาจมีประโยชน์ในอนาคตและช่วยในการออกแบบและทดสอบอาวุธใน อนาคต ในปลายปีพ.ศ. 2540 มิกถูกส่งมอบให้กับศูนย์อากาศและอวกาศแห่งชาติใกล้กับโอไฮโอ แม้ว่าจะเชื่อว่ามิก-29 หลายลำถูกทำลาย

ประเทศอื่นๆ


มิก-29 ของอิรักถูกยิงตกในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

มิก-29 ได้ทำการรบในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534 ซึ่งมันถูกใช้โดยอิรัก ตามข้อมูลของฝ่ายสหรัฐมีมิก-29 ห้าลำที่ถูกยิงตกโดยเอฟ-15[40] มิก-29 แปดลำสามารถหลบหนีไปที่อิหร่านที่ซึ่งปัจจุบันมันอยู่ในกองทัพอากาศอิหร่าน ซึ่งซื้อมิก-29 จากรัสเซียเช่นกัน

มิก-29ยูบีของคิวบาได้ยิงเซสนา 337 สองลำตกในปีพ.ศ. 2539 หลังจากที่เครื่องบินดังกล่าวล่วงล้ำน่านฟ้าของคิวบา

จากบางรายงานเมื่อปีพ.ศ. 2542 มิก-26 ของเอริเทรียถูกยิงตกโดยซุคฮอย ซู-27 ของเอธิโอเปีย[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ในขณะที่อีกรายงานกล่าวว่ามิก-29 ของเอริเทรียได้ยิงมิก-21 สองลำและมิก-23 สามลำของเอธิโปเปียตก

ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 มิก-29 สองลำของกองทัพอากาศซีเรียถูกรายงานว่าถูกยิงตกโดยเอฟ-15 ซีของกองทัพอากาศอิสราเอล ในขณะที่เข้าสกัดกั้นเครื่องบินของอิสราเอลนอกชายฝั่งเลบานอน นักบินซีเรียดีดตัวออกมาและได้รับการช่วยเหลือจากเรือของซีเรีย

ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทหารดาร์เฟอร์ได้ทำการโจมตีเมืองหลวงของซูดาน ในการรบมิก-29 ของซูดานถูกยิงตกโดยทหารของกบฎดาร์เฟอร์ด้วยปืนกลหนักขนาด 12.7 ม.ม.และ 14.5 ม.ม. นักบินเสียชีวิตเมื่อร่มของเขาไม่ทำงานหลังจากการดีดตัว ฝ่ายซูดานสามารถยันการโจมตีกลับไปได้[46][47]

ผู้ในที่เป็นไปได้ในอนาคต

ศรีลังกากำลังวางแผนที่จะซื้อมิก-29เอสเอ็ม[48]

เลบานอนวางแผนที่จะซื้อมิก-29 จำนวน 10 ลำจากรัสเซีย[49][50][51] เพื่อส่งมอบหลังจากต้องการทำรุ่นส่งออกและหลังจากที่นักบินของกองทัพอากาศเลบานอนได้ทำการึกเรียบร้อยแล้ว

แบบต่างๆ

ปัจจุบันมีโครงการพัฒนามากมายสำหรับมิก-29 ที่จัดขึ้นโดยกองทัพอากาศรัสเซีย ซึ่งจะพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกอากาศให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเทากับมาตรฐานของนาโต้ การยืดอายุการใช้งานเป็น 40 ปี ทำการพัฒนาความสามารถในการต่อสู้และความไว้ใจได้ และเพิ่มความปลอดภัย ในปีพ.ศ. 2548 บริษัทอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินมิกเริ่มทำการผลิตเครื่องบินตระกูลใหม่ขึ้น มา

มิก-29 (โปรดักท์ 9.12)
เป็นรุ่นแรกในการผลิต เข้าประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2526 นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
มิก-29บี-12 (โปรดักท์ 9.12A)
เป็นรุ่นสำหรับส่งออกให้กับประเทศที่ไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอ รุ่นนี้ไม่มีระบบบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์และมีเรดาร์ที่ด้อยกว่า นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
มิก-29ยูบี-12 (โปรดักท์ 9.51)
เป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึก มันติดตั้งเพียงเซ็นเซอร์อินฟราเรด ไม่มีเรดาร์ นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
มิก-29เอส
มิก-29เอสมีรูปร่างภายนอกที่เหมือนกับมิก-29บีที่เก่ากว่า ความแตกต่างเริ่มที่การพัฒนาของระบบควบตุมการบิน คอมพิวเตอร์ใหม่สี่เครื่องให้เสถียรภาพที่มากกว่าและควบคุมได้แม้จะทำมุม ปะทะที่สูงก็ตาม ระบบไฮดรอลิกที่พัฒนาของระบบควบคุมการบินทำให้มีการสะท้อนการควบคุมบนพื้น ผิวได้ดีขึ้น มิก-29เอสนั้นมีส่วนหลังที่นูนขึ้นมา ซึ่งเดิมทีนั้นเชื่อกันว่าเป็นที่เก็บเชื้อเพลิง แอันที่จริงแล้วมีไว้สำหรับระบบตอบโต้อิเลคทรอนิก เชื้อเพลิงภายในเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 75 ลิตร มันยังสามารถติดตั้งถังขนาด 1,150 ลิตรใต้ปีกแต่ละข้างได้หรือไม่ก็ใช้ถังที่ติดอยู่ตรงท้อง จุดติดตั้งใหม่ได้เพิ่มความจุในการบรรทุกได้ 4,000 กิโลกรัม น้ำหนักทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 กิโลกรัม
ในมิก-29เอส ปืนกลอากาศจีเอสเอช-30-1 มีช่องดีดปลอกกระสุนที่ใหญ่ขึ้นเพื่อทำให้มันสามารถยิงปืนได้ในขณะที่ติด ตั้งถังเชื้อเพลิงกลาง มิก-29เอสสามารถใช้ขีปนาวุธใหม่อย่างอาร์-27อีที่มีพิสัยมากกว่าแบบเดิม 1.5 เท่า
ในตอนแรกระบบอิเลคทรอนิกอากาศของมิก-29เอสมีเพียงระบบมองไออาร์เอสที เท่านั้น อย่างไรก็ดีมิก-29เอสได้ทำการพัฒนาสุดท้ายโดยการเพิ่มเรดาร์เอ็นโอ19เอ็ม เข้าไป ระบบอาวุธใหม่ถูกเพิ่มเข้าไปในซอฟต์แวร์ของมิก-29เอส มันสามารถจับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและในเวลาเดียวกันก็ใช้ขีปนาวุธอาร์-77 ได้พร้อมกันสองลูก
มิก-29เอสยังมีข้อจำกัดในการโจมตีภาคพื้นดินด้วยอาวุธธรรมดา แต่เพื่อที่เปลี่ยนให้มันกลายเป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาททางมิโคยันจึง ได้ออกแบบมิก-29เอสเอ็มขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกอากาศให้ ใช้อาวุธนำวิถีได้ การพัฒนามากมายของมิก-29เอสเมื่อรวมกับการพัฒนาของมิก-29เคทำให้เกิดการ พัฒนาต่อของมิก-29เอ็ม ซูเปอร์ฟัลครัม
การบินของมิก-29เอสนั้นด้อยกว่ามิก-29 เล็กน้อยเนื่องมาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงและระบบอิเลคทรอนิ กอากาศ มีมิก-29เอสเพียง 48 ลำเท่านั้นที่ถูกผลิตออกมาให้กับรัสเซียก่อนที่จะเกิดการตัดทุน นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
มิก-29เอส-13 (โปรดักท์ 9.13)
เป็นแบบที่คล้ายกับ 9.12 แต่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเพื่อบรรทุกเชื้อเพลิงและตัวรบกวน นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
มิก-29เอส-13 (โปรดักท์ 9.13S)
รุ่นที่ใช้โครงสร้างเดิมของ 9.13 แต่เพิ่มความจุอาวุธเป็น 4,000 กิโลกรัม และติดตั้งถังเชื้อเพลิงที่ใต้ปีก มีเรดาร์เอ็นโอ19เอ็มอีที่จับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและโจมตีได้สองเป้าหมายพร้อมกัน มันใช้ขีปนาวุธวิมเปล อาร์-77 นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
มิก-29เอสเอ็ม (โปรดักท์ 9.13M)
เป็นรุ่นที่คล้ายกับ 9.13 แต่สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นและระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้ นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ซี

มิก-29เคยูบี
มิก-29เค (โปรดักท์ 9.31)
เป็นแบบสำหรับกองทัพเรือ มันมีปีกที่หนา ตะขอเกี่ยว และล้อลงจอดที่แข็งแรงขึ้น เดิมทีมันถูกวางแผนไว้ให้ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นแอมิรัลคุซเนทซอฟ มันเคยได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตโดยกระทรวงกลาโหมของรัสเซียแต่ก็ถูกยกเลิกใน ปีพ.ศ. 2535 เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของกองทัพและปัญหาทางการเงินบริษัทมิกเริ่มโครงการใหม่อีกครั้งใรปีพ.ศ. 2542 และได้นำการพัฒนาไปใช้กับแบบถัดไป ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547 กองทัพเรืออินเดียได้ทำสัญญาในการซื้อมิก-29เค 12 ลำและมิก-29เคยูบี 4 ลำโดยจะส่งมอบในปีพ.ศ. 2550-2552 การดัดแปลงสำหรับกองทัพเรืออินเดียจึงเกิดขึ้น มันมีอาวุธแบบเดียวกับที่ใช้ในมิก-29เอ็มและมิก-29เอสเอ็มที นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ดี
มิก-29เคยูบี (โปรดักท์ 9.47)
มันคล้ายคลึงกับมิก-29เคแต่ว่ามีที่นั้งเรียงกัน มันถูกใช้เพื่อฝึกนักบินมิก-29เคและสามารถทำการรบเต็มรูปแบบได้ มิก-29เคยูบีสร้างขึ้นครั้งแรกให้กับกองทัพเรืออินเดีย มันทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-ดี

มิก-29เอ็ม
มิก-29เอ็ม / มิก-33 (โปรดักท์ 9.15)
ดูบทความหลักที่ มิโคยัน มิก-29เอ็ม
เป็นแบบหลากบทบาทที่ก้าวหน้าด้วยโครงสร้างที่ได้รับการออกแบบใหม่และแทนที่ระบบควบคุมกลไลด้วยระบบฟลาย-บาย-ไวร์ และมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์อาร์ดี-33 เซอร์.3เอ็ม นาโ๖้เรียกมันว่าฟัลครัม-ดี
มิก-29ยูบีเอ็ม (โปรดักท์ 9.61)
เป็นรุ่นสองที่นั่งของมิก-29เอ็ม มันไม่เคยถูกสร้างออกมา มันยังใช้ชื่อว่ามิก-29เอ็ม2 อีกด้วย
มิห-29เอสเอ็มที (โปรดักท์ 9.17)
ในปีพ.ศ. 2531 กระทรวงกลาโหมตัดสินใจที่จะเริ่มโครงการพัฒนาคุณภาพของมิก-29 มีทั้งหมด 150-180 ลำที่ถูกเปลี่ยนเป็นมิก-29เอสเอ็มทีซึ่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย การพัฒนาเพิ่มถูกวางแผนให้กับเครื่องบินที่สร้างขึ้นในทศวรรษถัดมา โครงการเริ่มเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 มิก-29เอสเอ็มที 10-15 ลำถูกส่งมอบให้ก่อนสิ้นปี ในปีพ.ศ. 2542 มีมิก-29 ทั้งหมด 20-30 ลำที่ถูกเปลี่ยนเป็นมิก-29เอสเอ็มที ในมีพ.ศ. 2543 คาดว่าจะมีมิก-29เอสเอ็มที 40 ลำ โครงการทั้งหมดจะดัดแปลงมิก-29 150-180 ลำให้เป็นมิก-29เอสเอ็มที และอีก 120 ลำเป็นมิก-29ยูบีที (สองที่นั่ง)
การพัฒนาเป็นชุดของมิก-29 รุ่นแรกๆ จะทำให้พวกมันกลายเป็นมิก-29เอ็ม นอกจากถังเชื้อเพลิงพิเศษที่เพิ่มพิสัยเป็น 2,100 กิโลเมตร ห้องนักบินที่มีการปรับปรุง จอเอ็มเอฟดีขนาด 6x8 นิ้วสองจอ และแอลซีดีขนาดเล็กอีกสองจอ มีการพัฒนาเรดาร์ให้คล้ายคลึงกับมิก-29เอ็ม ขุมกำลังเปลี่ยนเป็นอาร์ดี-33 เซอร์.3 โดยให้แรงขับพร้อมสันดาป 81.4 น็อท ความจุอาวุธเพิ่มเป็น 4,500 กิโลกรัมโดยใช้อาวุธที่เหมือนกับมิก-29เอ็ม
มิก-29ยูบีที (โปรดักท์ 9.51T)
เป็นการพัฒนาขั้นพื้นฐานของเอสเอ็มทีให้กับมิก-29ยูบี ตัวอย่างเช่น อัลจีเรียและเยเมนที่ใช้มัน
มิก-29เอ็ม2 / มิก-29เอ็มอาร์ซีเอ
เป็นรุ่นสองที่นั่งของมิก-29เอ็ม มันเหมือนกับมิก-29เอ็มโดยพิสัยลดลงไปเล็กน้อยเหลือ 1,800 กิโลเมตรบริษัทมิกได้นำเสนอมันในการแสดงทางอากาศมากมาย ครั้งหนึ่งมันได้ใช้ชื่อมิก-219เอ็มอาร์ซีเอสำหรับการตลาดและตอนนี้มัน เกี่ยวข้องกับมิก-35
มิก-29โอวีที
เป็นหนึ่งในหกลำที่สร้างออกมาก่อนมิก-29เอ็มก่อนปีพ.ศ. 2534 ต่อมาได้รับเครื่องยนต์ใหม่และระบบฟลาย-บาย-ไวร์ มันเป็นตัวทดสอบเครื่องยนต์มใหม่และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำไปพัฒนามิก-29เอ็ม มันมีระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่เหมือนกับมิก-29เอ็ม ความแตกต่างเดียวคือห้องนักบิน เครื่องยน์อาร์ดี-133 ของมันมีปลายท่อไอเสียแบบหมุนซึ่งให้แรงขับสะท้อนไปทุกทิศทาง อย่างไรก็ดีความพิเศษอื่นของมันนั้นก็ไม่ได้โดเด่นนัก มันถูกนำไปแสดงในงานต่างๆ พร้อมกับมิก-29เอ็ม2 ทั่วโลกเพื่อเพิ่มการขาย มันยังถูกใช้ในการบินผาดโผนอีกด้วย
มิก-35
ดูบทความหลักที่ มิโคยัน มิก-35
เป็นการพัฒนาที่เปิดเผยของมิก-29เอ็ม/เอ็ม2 และมิก-29เค/เคยูบี นาโต้เรียกมันว่าฟัลครัม-เอฟ

มิก-29จีทีของเยอรมัน
มิก-29จี/มิก-29จีที
เป็นการพัฒนาสำหรับมิก-29 และมิก-29ยูบีในกองทัพอากาศเยอรมนีที่ได้สืบทอดมาจากเยอรมนีตะวันออก งานนั้นเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2536[60]
มิก-29เอเอส/มิก-29ยูบีเอส (มิก-29เอสดี)
กองทัพอากาศสโลวะเกียได้ทำการพัฒนามิก-29 และมิก-29ยูบีของตนเพื่อให้ได้มาตรฐาน การพัฒนาเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2548 ปัจจุบันมันมีระบบนำร่องและรบบสื่อสารจากบริษัทร็อคเวล คอลลินส์ ระบบระบุฝ่าย ห้องนักบินแบบใหม่ที่มีจอแอลซีดีและหน่วยประมวลผลดิจิตอล และยังใช้เทคโฯโ,ยีต่างๆ ของตะวันตกในอนาคต อย่างไรก็ตามอาวุธของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มิก-29 12 ลำจาก 21 ลำถูกพัฒนาและส่งมอบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[61]
มิก-29 "สไนเปอร์"
เป็นการพัฒนาของกองทัพอากาศโรมาเนียโดย อิสราเอล การบินครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โครงการถูกระงับพร้อมกับการปลดประจำการมิก-29 ของโรมาเนียในปีพ.ศ. 2546 ซึ่งเกิดจากค่าบำรุงรักษาที่สูงเกินไปซึ่งทำให้รัฐบาลโรมาเนียทำการตัดสินใจหยุดโครงการมิก-29 และการลงทุนในโครงการมิก-21 แลนเซอร์

ประเทศผู้ใช้งาน


ประเทศผู้ใช้งานมิก-29 แสดงในสีน้ำเงิน (อดีตผู้ใช้งานแสดงในสีฟ้า)



มิก-29 ของกองทัพอากาศเปรู

ปัจจุบัน

อดีต

รายละเอียด

3-view drawing of MiG-29
  • นักบิน หนึ่งนาย
  • ความยาว 17.37 เมตร
  • ระยะระหว่างปีกทั้งสองข้าง 11.4 เมตร
  • ความสูง 4.73 เมตร
  • พื้นที่ปีก 38 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 11,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 16,800 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 21,000 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โปแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบคลิมอฟ อาร์ดี-33 ให้แรงขับเครื่องละ 18,300 ปอนด์
  • ความเร็วสูงสุด 2.25 มัค (2,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 1,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ในระดับความสูงต่ำ)
  • พิสัย 700 กิโลเมตร
  • พิสัยในการขนส่ง 2,100 กิโลเมตรพร้อมถังเชื้อเพลิงแบบทิ้งได้ 1 ถัง
  • เพดานบินทำการ 59,100 ฟุต
  • อัตราไต่ระดับ 65,000 ฟุตต่อนาที
  • น้ำหนักที่ปีกรับได้ 442 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราการเร่งต่อน้ำหนัก 1.13
  • อาวุธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น